สถานที่ : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ว่าจ้าง : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
วันที่เริ่มโครงการ : 5 ก.ค. 64
วันสิ้นสุดโครงการ : 27 เม.ย. 65

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ทบทวนนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษาปัจจัยภายนอกและภายใน พร้อมทั้งสำรวจสถานการณ์การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของ รฟม.
  2. เพื่อทบทวนสถาปัตยกรรมองค์กรปัจจุบันของ รฟม. (As-Is Enterprise Architecture) และวางแผนจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมายของ รฟม. (To-Be Enterprise Architecture) ครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน ให้สอดคล้องกับภารกิจหลัก และภารกิจสนับสนุนของ รฟม.
  3. เพื่อกำหนดกรอบ/แนวทางการใช้สถาปัตยกรรมองค์กรกับโครงการด้านดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม
  4. เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลของ รฟม. ปีงบประมาณ 2566-2570 ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานขององค์กร สถาปัตยกรรมองค์กรของ รฟม. และเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยคำนึงถึงทิศทางหรือแนวโน้มด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม
  5. เพื่อกำหนดแนวทางการประเมินประสิทธิผล/ความคุ้มค่าของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับทุกส่วนขององค์กร

ขอบเขตการดำเนินงาน

  1. การจัดทำรายละเอียดและแผนเริ่มงาน
    1.1 กำหนดโครงสร้างการทำงาน พร้อมระบุบทบาทความรับผิดชอบของผู้รับจ้าง และบุคลากรของ รฟม. ที่จะดำเนินงานร่วมกับผู้รับจ้าง
    1.2 จัดทำแผนการดำเนินงาน โดยกำหนดรายละเอียด ขอบเขตของงาน ขั้นตอน รูปแบบ วิธีการดำเนินงาน ระยะเวลา
    1.3 แสดงผลลัพธ์ของการดำเนินงานรายกิจกรรม เพื่อให้ รฟม. เห็นภาพรวมของการดำเนินงานและเตรียมความพร้อมสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ
    1.4 จัดให้มีการประชุมเริ่มงาน (Kick off Meeting) ร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการ เพื่อนำเสนอแผนการดำเนินงานให้พิจารณาก่อนการดำเนินงานจริง ภายใน 15 วัน นับจากวันเริ่มงาน
  2. การศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำบทวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
    2.1 ศึกษา วิเคราะห์รวบรวมข้อมูลปัจจัยสภาพแวดล้อมปัจจุบันที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร และแนวโน้มเทคโนโลยีในอนาคต (Technology Trends) เพื่อประเมินสถานภาพในการนำประโยชน์ของเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในภารกิจของแต่ละหน่วยงานใน รฟม.
    ปัจจัยภายใน
    (1) แผนวิสาหกิจของ รฟม.
    (2) สถาปัตยกรรมองค์กรของ รฟม.
    (3) แผนปฏิบัติการดิจิทัลของ รฟม. ประจำปีงบประมาณ 2560-2565
    (4) แผนแม่บทด้านอื่น ๆ ของ รฟม. ที่เกี่ยวข้อง
    (5) ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการดำเนินงานตามภารกิจขององค์กร
    (6) โครงสร้างการกำกับดูแลและการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    (7) คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับของ รฟม. ที่เกี่ยวข้อง
    ปัจจัยภายนอก
    (1) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)
    (2) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580
    (3) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2561-2580
    (4) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2565
    (5) แผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2561-2565
    (6) (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563-2565
    (7) แผนพัฒนาคมนาคมดิจิทัล 2021
    (8) ผลการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของ รฟม.
    (9) โครงการ Smart City กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
    (10) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรดิจิทัลของกระทรวงคมนาคม
    (11) นโยบายเเละระเบียบปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    (12) แผนงาน ระเบียบ ประกาศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและกฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจขององค์กร
    (13) แนวทางหรือแผนการพัฒนาทักษะดิจิทัลสำหรับข้าราชการและบุคลากรของกระทรวงคมนาคม
    (14) แนวโน้มและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล หรือการเปลี่ยนแปลงที่อาจมีผลกระทบต่อการบริการขององค์กร และการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Disruptive Technology) รวมถึงภัยคุกคามโลกไซเบอร์ (Cyber Threats)
    (15) มาตรฐาน/เกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
    (15.1) มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลตามกรอบแนวทางมาตรฐาน เช่น TH e-Gif
    (15.2) มาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013
    (15.3) มาตรฐานที่ออกโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (Digital Government Development Agency: DGA) เช่น มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ มาตรฐานApplication ภาครัฐสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
    (15.4) หลักเกณฑ์การประเมินกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการ (Core Business Enablers) ของรัฐวิสาหกิจ
    2.2 ศึกษา วิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรค (SWOT Analysis) ความต้องการและความคาดหวังในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับภารกิจของแต่ละหน่วยงานใน รฟม. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามภารกิจหลักขององค์กรภายใต้มิติมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน รฟม.
    2.3 วิเคราะห์โดยใช้หลักการ TOWs Matrix ประกอบการแก้ปัญหาและเพิ่มมุมมองผลการวิเคราะห์ที่ได้จาก SWOT ไปใช้เป็นองค์ประกอบในการจัดทำกลยุทธ์ทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่สอดคล้องกับกลยุทธ์การบริหารขององค์กร
    2.4 สำรวจและสัมภาษณ์ผู้บริหารของหน่วยงาน เพื่อประเมินถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กร รวมทั้งรับนโยบายและความต้องการ เพื่อนำไปกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัลของ รฟม.
    2.5 จัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) ร่วมกับผู้เกี่ยวข้องของแต่ละฝ่าย/สำนัก โดยศึกษา วิเคราะห์ ทบทวนสถานภาพปัจจุบัน พร้อมทั้งสำรวจความต้องการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในการปรับปรุงสถาปัตยกรรมที่มีอยู่ (As-Is Architecture) ออกแบบสถาปัตยกรรมเป้าหมาย (To-Be Architecture) และจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลของ รฟม. ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมสถาปัตยกรรมองค์กรทั้ง 5 ด้าน ดังนี้
    (1) ด้านกระบวนการทำงาน (Businesses Architecture) ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ ทบทวนโครงสร้างองค์กร ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย ตัวชี้วัดของ รฟม. และกระบวนการทำงานของทุกฝ่าย/สำนัก
    (2) ด้านระบบงานและโปรแกรมประยุกต์ (Application Architecture) ศึกษา สำรวจวิเคราะห์ ทบทวนรายละเอียดแอปพลิเคชันของแต่ละระบบงาน รวมทั้งแอปพลิเคชันที่มีอยู่ของ รฟม.
    (3) ด้านข้อมูลสารสนเทศ (Data/Information Architecture) ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ ทบทวนข้อมูลที่สำคัญที่อยู่ในกระบวนการต่าง ๆ ภายใน รฟม. และรายการข้อมูลที่ให้บริการแก่หน่วยงานภายนอก
    (4) ด้านเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐาน (Technology/Infrastructure Architecture) ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ ทบทวนแผนผังระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่าย แผนผังระบบเครือข่าย การจัดแบ่งพื้นที่ (Zone diagram) และ การแบ่งกลุ่มผู้ใช้งาน
    (5) ด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security Architecture) ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ ทบทวนนโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยของ รฟม.
    2.6 กำหนดกรอบแนวคิดในการจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลของ รฟม. ปีงบประมาณ 2566-2570
  3. การทบทวน วิเคราะห์ และจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร
    3.1 ทบทวน/ปรับปรุง Conceptual Design กระบวนการต่าง ๆ ของ รฟม. และจัดทำConceptual Design ในส่วนของกระบวนงานที่เพิ่มเติมให้สอดคล้องกับโครงสร้างองค์กรในปัจจุบัน
    3.2 วิเคราะห์และจัดทำสถาปัตยกรรมที่มีอยู่ของ รฟม. (As-Is Architecture) พร้อมทั้งออกแบบสถาปัตยกรรมเป้าหมายของ รฟม. (To-Be Architecture) โดยจัดทำรายงานเชิงสถาปัตยกรรมจากเครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่ง ซึ่งต้องสามารถแสดงผลอย่างน้อย ดังนี้
    3.2.1 ด้านกระบวนการทำงาน (Businesses Architecture)
    (1) ไดอะแกรมความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดองค์กรและบริการ
    (2) ภาพรวมของกระบวนการธุรกิจ รวมถึง Business Capability
    (3) ตารางความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการปฏิบัติงานและส่วนงาน
    3.2.2 ด้านระบบงานและโปรแกรมประยุกต์ (Application Architecture)
    (1) ภาพรวมของแอปพลิเคชันที่ใช้สำหรับการดำเนินงาน
    (2) รายการของแอปพลิเคชันตามภารกิจหลัก และภารกิจสนับสนุน
    (3) แผนภาพแสดงการเชื่อมต่อของระบบงาน (Interface diagram)
    (4) ความสัมพันธ์ระหว่างแอปพลิเคชันกับเทคโนโลยี
    (5) ความสัมพันธ์ระหว่างแอปพลิเคชันธุรกิจและส่วนงาน
    (6) ความสัมพันธ์ระหว่างแอปพลิเคชันสนับสนุนและส่วนงาน
    (7) ความสัมพันธ์ระหว่างแอปพลิเคชันและกระบวนการปฏิบัติงาน
    (8) ความสัมพันธ์ระหว่างแอปพลิเคชันภายนอกและแอปพลิเคชันภายใน
    3.2.3 ด้านข้อมูลสารสนเทศ (Data/Information Architecture)
    (1) ภาพรวมของข้อมูลภายในองค์กร (ฐานข้อมูล และไฟล์ข้อมูล)
    (2) รายการข้อมูล
    (3) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและแอปพลิเคชัน
    (4) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ฐานข้อมูล และเครื่องที่เก็บฐานข้อมูล
    3.2.4 ด้านเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐาน (Technology/Infrastructure Architecture)
    (1) ภาพรวมของโครงสร้างพื้นฐาน
    (2) รายการของโครงสร้างพื้นฐาน
    (3) แผนผังระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ระบบเครือข่าย การจัดแบ่งพื้นที่ (Zone diagram)
    (4) ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างพื้นฐาน (ฮาร์ดแวร์) และแอปพลิเคชันธุรกิจ
    (5) ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างพื้นฐาน (ระบบปฏิบัติการและฮาร์ดแวร์) และ แอปพลิเคชันสนับสนุน
    3.2.5 ด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security Architecture)
    (1) ภาพรวมของมาตรการควบคุมความมั่นคงปลอดภัย
    (2) รายการมาตรการควบคุมความมั่นคงปลอดภัย
    (3) ความสัมพันธ์ระหว่างมาตรการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยกับส่วนงาน
    3.3 กำหนดกรอบ/แนวทางการใช้สถาปัตยกรรมองค์กรกับโครงการด้านดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม
    3.4 กำหนดแนวทางการประเมินประสิทธิผล/ความคุ้มค่าของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับทุกส่วนขององค์กร
  4. การวิเคราะห์และจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล
    4.1 วิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญโครงการตามแผนปฏิบัติการดิจิทัลของ รฟม. ปีงบประมาณ 2566-2570 โดยจำนวนโครงการและลำดับความสำคัญต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับภาระงานและบุคลากรในปัจจุบันรวมถึงสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ในแต่ละด้านของ รฟม.
    4.2 วิเคราะห์และประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในส่วนของโครงการตามแผนปฏิบัติการดิจิทัลของ รฟม. ปีงบประมาณ 2566-2570 เช่น อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return: IRR) มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิ (Net Present Value: NPV) ผลประโยชน์อื่น ๆ เป็นต้น
    4.3 จัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลของ รฟม. ปีงบประมาณ 2566-2570 ให้สามารถตอบสนองต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของ รฟม. นโยบายภาครัฐและแผนงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงสอดคล้องกับสถาปัตยกรรมองค์กรและเทคโนโลยีปัจจุบันและแนวโน้มเทคโนโลยีที่เหมาะสมในอนาคต โดยประกอบด้วยรายละเอียดอย่างน้อย ได้แก่
    (1) บทสรุปผู้บริหาร และบริบทของ รฟม. ในยุคดิจิทัล
    (2) สถานภาพปัจจุบันและทิศทางการพัฒนาด้านดิจิทัลของ รฟม.
    (3) ความสอดคล้องเชื่อมโยงกับนโยบายและแผนงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    (4) วิสัยทัศน์ เป้าหมาย กลยุทธ์ ผลผลิต ตัวชี้วัด และยุทธศาสตร์การพัฒนาดิจิทัลของ รฟม.
    (5) แผนงาน/โครงการ งบประมาณ และฝ่าย/สำนักที่รับผิดชอบ
    (6) กลไกการขับเคลื่อน การบริหารจัดการและการพัฒนาบุคลากร
    4.4 จัดทำเอกสารร่างรายละเอียดขอบเขตของงาน สำหรับการจัดหาผู้รับจ้างโครงการตามแผนปฏิบัติการดิจิทัลของ รฟม. ปีงบประมาณ 2566-2570 เบื้องต้น เพื่อใช้สำหรับการขอตั้งงบประมาณประจำปี
  5. การจัดประชุมสัมมนาและศึกษาดูงานถ่ายทอดความรู้
    5.1 จัดประชุมสัมมนากับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดที่เกี่ยวข้องภายใน รฟม. เพื่อถ่ายทอดกระบวนการและประเมินการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและนำเสนอผลการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรและแผนปฏิบัติการดิจิทัลของ รฟม. ปีงบประมาณ 2566-2570
    (1) มีผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาไม่น้อยกว่า 50 คน จำนวน 1 ครั้ง
    (2) ที่ปรึกษาต้องนำข้อมูลที่จะนำเสนอต่อที่ประชุมให้ รฟม. พิจารณาตรวจสอบก่อนจัดประชุมสัมมนาไม่น้อยกว่า 10 วันทำการ
    (3) ที่ปรึกษาต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าอาหารว่าง เครื่องดื่ม อาหารกลางวัน เอกสาร และอุปกรณ์ที่จำเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าผู้เข้าร่วมอบรม โดย รฟม. จะรับผิดชอบในการจัดเตรียมสถานที่ภายใน รฟม.
    5.2 จัดให้มีการศึกษาดูงานถ่ายทอดเทคโนโลยี/องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ
    (1) มีผู้เข้าร่วมศึกษาดูงานถ่ายทอดเทคโนโลยี/องค์ความรู้ ไม่น้อยกว่าจำนวน 35 คน
    (2) ศึกษาดูงานอย่างน้อย 1 แห่ง จากหน่วยงานที่มีประสบการณ์และมีองค์ความรู้ดังกล่าว โดยที่ปรึกษาต้องนำเสนอหน่วยงานและรายละเอียดต่าง ๆ ให้ รฟม. พิจารณาเห็นชอบก่อน
    (3) ที่ปรึกษาต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหารว่าง เครื่องดื่ม อาหาร เอกสารที่เกี่ยวข้องและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทั้งหมด
  6. การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ดำเนินการสื่อสารภาพรวมของการจัดทำโครงการ โดยแสดงผลข้อมูลสถาปัตยกรรมองค์กร (As-Is / To-Be) และแผนปฏิบัติการดิจิทัลของ รฟม. พร้อมทั้งประโยชน์ที่ รฟม. ได้รับจากโครงการนี้ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้แก่บุคลากรภายใน รฟม. เห็นภาพและรับทราบผ่านสื่อดิจิทัล ประกอบด้วย
    6.1 การจัดทำสื่อวิดีโอ ระยะเวลารวม 3 นาที จำนวน 1 ชุด
    6.2 การจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบภาพ Info graphic จำนวน 1 ชุด
  7. การจัดทำกระบวนการและแนวทางการกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีดิจิทัลจัดทำกระบวนการและแนวปฏิบัติที่กำหนดอย่างครบถ้วนและเป็นระบบตามหลักเกณฑ์การประเมินกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการ (Core Business Enablers) ของรัฐวิสาหกิจ ได้แก่
    7.1 กระบวนการและกรอบทิศทางการกำกับดูแลด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล
    7.2 กระบวนการวิเคราะห์และจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร
    7.3 กระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลและแผนปฏิบัติการประจำปี
    7.4 กระบวนการบริหารโครงการ
    7.5 กระบวนการจัดการด้านคุณภาพ
  8. การสนับสนุนการดำเนินงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    8.1 ผู้จัดการโครงการและทีมที่ปรึกษาต้องประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ของ รฟม. เพื่อนำเสนอความก้าวหน้า ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงานอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ภายในวันที่ 10 ของเดือน หรือวันและเวลาตามที่ รฟม. กำหนด
    8.2 ที่ปรึกษาต้องจัดส่งรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน (Progress Report) โดยนำเสนอความคืบหน้าและการติดตามผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ปัญหาและอุปสรรค แนวทางการแก้ไข และแนวทางการดำเนินงานต่อไปให้แก่ รฟม. ภายในวันที่ 30 ของเดือน หรือ วันและเวลาตามที่ รฟม. กำหนด
    8.3 ที่ปรึกษาต้องให้การสนับสนุน ให้คำปรึกษา จัดเตรียมข้อมูลและเอกสารต่าง ๆ และเข้าร่วมชี้แจงต่อผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการ รฟม. คณะอนุกรรมการบริหาร คณะกรรมการจัดการ คณะทำงานเทคโนโลยีดิจิทัลของ รฟม. คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงคมนาคมหรือหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น รวมทั้งให้คำปรึกษาและแนะนำ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
    8.4 หากที่ปรึกษามีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงทีมงานที่ปรึกษาในระหว่างดำเนินโครงการ จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก รฟม. ก่อน และบุคลากรที่ปรับเปลี่ยนหรือทดแทนจะต้องมีคุณสมบัติเทียบเท่าและไม่ต่ำกว่าบุคลากรเดิม
    8.5 ที่ปรึกษาต้องควบคุมดูแลและรับผิดชอบบุคลากรของที่ปรึกษาให้ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ นโยบาย หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่ รฟม. กำหนดไว้ และควบคุมดูแลให้เก็บรักษาความลับของ รฟม. อย่างเคร่งครัด