สถานที่ : กรมธุรกิจพลังงาน
ผู้ว่าจ้าง : กรมธุรกิจพลังงาน
วันที่เริ่มโครงการ : 30 เมษายน 2565
วันสิ้นสุดโครงการ : 25 ธันวาคม 2565

วัตถุประสงค์

2.1 ศึกษา วิเคราะห์ความต้องการเชิงการใช้งานด้านข้อมูลเชิงวิเคราะห์ที่ชัดเจนจากผู้ถือผลประโยชน์ร่วม (Stakeholders) ภายในกรมธุรกิจพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวซ้อง
2.2 จัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) ของกรมธุรกิจพลังงานให้เป็นไปตามหลักวิชาการหรือหลักสากล สามารถให้บริการข้อมูลผ่าน Web Service ที่เป็นมาตรฐานการใช้งานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและคุ้มครองข้อมูลที่มีชั้นความลับได้อย่างเป็นระบบ
2.3 วิเคราะห์ความแตกต่างของสถาปัตยกรรมองค์กรระหว่างสถานะปัจจุบันและอนาคตของกรมธุรกิจพลังงาน (Gap Analysis) และเพื่อออกแบบกลไกการเชื่อมโยงข้อมูลที่เหมาะสม คุ้มค่าสำหรับการปฏิบัติงาน (Operation) รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแผน (Analytics) ให้ครอบคลุมฟังก์ชันงานด้านต่าง ๆ ของกรมธุรกิจพลังงานให้ครบถ้วน
2.4 กำหนดแผนการดำเนินงาน (Roadmap) ในการปรับปรุงกระบวนการทำงานทั้งระบบงานภารกิจหลักและภารกิจสนับสนุน ให้สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมองค์กรของกรมธุรกิจพลังงานเพื่อให้เป็นไปตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และเป้าหมายของกรมธุรกิจพลังงาน
2.5 จัดทำร่างขอบเขตงานจากสถาปัตยกรรมองค์กรของกรมธุรกิจพลังงานสำหรับการพัฒนาระบบการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมตามพระราขบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2.6 ออกแบบและจัดทำหน้าจอแสดงผลข้อมูล (Dashboard) สำหรับการพัฒนาระบบการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 และที่แกัไขเพิ่มเติม เพื่อเป็นตัวอย่างต้นแบบ (Prototype) หรือพัฒนาโมเดลคณิตศาสตร์ในการแสดงศักยภาพการใช้ประโยชน์ข้อมูลเชิงวิเคราะห์ (Big Data Analytics) ของกรมธุรกิจพลังงานอย่างน้อย 2 ชิ้น
2.7 ออกแบบและให้คำปรึกษา ด้านพัฒนาหรือจัดหาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการให้บริการแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานภายในและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ขอบเขตการดำเนินงาน

ที่ปรึกษาต้องดำเนินการ ดังนี้
ที่ปรึกษาจะต้องมีการจัดประชุมเปิดโครงการ (Kick Off) และให้ความรู้เบื้องต้นตามหลักการพื้นฐานการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรแก่เจ้าหน้าที่กรมธุรกิจพลังงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1 ครั้ง ก่อนการดำเนินโครงการ ด้วยวิธีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

  1. ขอบเขตงานส่วนที่ 1 ด้านการศึกษาวิเคราะห์ และรับฟังความคิดเห็น
    1.1 ศึกษาและวิเคราะห์ทบทวนวรรณกรรม ตลอดจนกรณีศึกษาของสถาปัตยกรรมองค์กรหรืองานบริการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับภารกิจ หรือการบริการของกรมธุรกิจพลังงาน และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนองค์กรเป็นองค์กรดิจิทัล
    ได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนากรอบ สถาปัตยกรรมองค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร โดยมีรายละเอียดดังนี้
    (1) ศึกษากรอบแนวความคิดตามหลักการทางวิชาการในการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรระดับสากล อย่างน้อย 3 กรอบแนวความคิด
    (2) ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบ ทบทวนวรรณกรรม กรณีศึกษาของสถาปัตยกรรมองค์กรในประเทศ ซึ่งต้องได้รับรางวัลระดับประเทศ อย่างน้อย 2 หน่วยงาน โดยอยู่ในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี ด้านการบริหารจัดการภายในองค์กร หรือด้านการบริการแบบอิเล็กทรอนิกส์
    หรือนวัตกรรมการบริการหรือบูรณาการข้อมูลเพื่อการบริการหรือการอำนวยความสะดวกในการให้บริการ
    (3) ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบ ทบทวนวรรณกรรม กรณีศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือนวัตกรรมการให้บริการ หรือระบบการให้บริการแบบอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานในต่างประเทศที่มีลักษณะการดำเนินการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านพลังงาน หรือหน่วยงานภาครัฐ อย่างน้อย 1 หน่วยงาน
    (4) ศึกษาวิเคราะห์ ภารกิจ พันธกิจ หน้าที่และอำนาจ กระบวนการ (Workflow) ที่เกี่ยวข้องกับระบบการปฏิบัติงานภายในกรมธุรกิจพลังงานและภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนุญาต เพื่อวิเคราะห์ตรวจสอบ ปรับปรุง กระบวนงานด้านการใช้ประโยชน์ข้อมูลเชิงวิเคราะห์ตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการปรับเปลี่ยนองค์กรเป็นองค์กรดิจิทัล
    1.2 จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ร่วมกับผู้ถือผลประโยชน์ร่วม (Stakeholders) จากกรมธุรกิจพลังงานและพันธมิตรหลัก เพื่อศึกษาความต้องการ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ความต้องการความคาดหวัง และปัญหาต่าง ๆ เบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล และระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) เพื่อออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กรและกลไกการเชื่อมโยงข้อมูลโครงการวิเคราะห์ออกแบบระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับธุรกิจพลังงานที่สามารถรองรับระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) และการใช้ประโยชน์ข้อมูลเชิงวิเคราะห์ (Big Data Analytics) ได้อย่างเหมาะสมในอนาคต โดยต้องครอบคลุมผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้ง 5 กลุ่ม ดังนี้
    (1) กลุ่มผู้ประกอบการสถานีบริการ สถานที่เก็บ และสถานที่ใช้ ธุรกิจก๊าชธรรมชาติธุรกิจก๊าชปิโตรเลียมเหลว และธุรกิจน้ำมัน โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนา อย่างน้อย 100 รายและจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นพร้อมจัดส่งให้กับผู้ถือผลประโยชน์ร่วม (Stakeholders) อย่างน้อย 300 ราย
    (2) กลุ่มผู้ประกอบการคลังและขนส่งทางท่อ ธุรกิจก๊าชธรรมชาติ ธุรกิจก๊าชปิโตรเลียมเหลวและธุรกิจน้ำมัน โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนา อย่างน้อย 50 ราย และจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นพร้อมจัดส่งให้กับผู้ถือผลประโยชน์ร่วม (Stakeholders) อย่างน้อย 100 ราย
    (3) กลุ่มผู้ประกอบการรถขนส่ง ธุรกิจก๊าชธรรมชาติ ธุรกิจก๊าชปิโตรเลียมเหลวและธุรกิจน้ำมัน โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนา อย่างน้อย 100 ราย และจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นพร้อมจัดส่งให้กับผู้ถือผลประโยชน์ร่วม (Stakeholders) อย่างน้อย 300 ราย
    (4) กลุ่มผู้ประกอบการผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิง ผู้ค้าน้ำมันหล่อลื่น โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาอย่างน้อย 100 ราย และจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นพร้อมจัดส่งให้กับผู้ถือผลประโยชน์ร่วม (Stakeholders) อย่างน้อย 300 ราย
    (5) กลุ่มผู้รับบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ทดสอบและตรวจสอบ วิศวกรออกแบบ ผู้ฝึกอบรมและวิทยากร นิติบุคคลผู้มีสิทธิจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อมและรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการและหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนา อย่างน้อย 50 รายและจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็น พร้อมจัดส่งให้กับผู้ถือผลประโยชน์ร่วม (Stakeholders) อย่างน้อย 100 ราย
    1.3 สัมภาษณ์เชิงลึกและจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อรับฟัง ความคิดเห็น รวบรวมความต้องการของผู้ใช้งานและกระบวนการทำงานของผู้ที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะ ทบทวน สำรวจและวิเคราะห์สถานภาพปัจจุบัน สำหรับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในกรมธุรกิจพลังงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้
    (1) สัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารของกรมธุรกิจพลังงาน ประกอบด้วย ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารและผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ
    (2) สัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่กรมธุรกิจพลังงาน รวมทั้งสำรวจและบันทึกพฤติกรรมการทำงานหรือการใช้งานระบบ โครงสร้างองค์กร กระบวนงาน จากผู้แทนทุกกลุ่มงาน/ฝ่าย ตามโครงสร้างการแบ่งส่วน ราชการของสำนักงาน กอง ศูนย์ และสถาบันในสังกัดกรมธุรกิจพลังงาน โดยมีการสัมภาษณ์เชิงลึกอย่างน้อย กลุ่ม/ฝ่ายละ 1 คน จำนวน 43 กลุ่ม และ 8 ฝ่าย
    (3) สัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) กับพลังงานจังหวัดหรือผู้แทนอย่างน้อย จังหวัดละ 1 คน ทั้งนี้กรณีที่พลังงานจังหวัดหรือผู้แทนไม่สามารถเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการได้ ให้ที่ปรึกษาจัดส่งแบบสำรวจความคิดเห็นให้เป็นรายจังหวัด
    อนึ่งการดำเนินการตามข้อ 3.1.2 และข้อ 3.1.3 กรณียังอยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (C0VID-19) ให้พิจารณาจัดการดำเนินการในสถานที่ที่มีความเหมาะสม ปลอดภัยและดำเนินการภายใต้ประกาศ คำสั่ง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (C0VID-19) อย่างเคร่งครัด หรือด้วยวิธีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยที่ปรึกษาจะต้องนำเสนอแผนการดำเนินการ เอกสารที่เกี่ยวข้อง แบบสำรวจความคิดเห็นรูปแบบการจัดการสัมมนา เชิงปฏิบัติการ (Workshop) และการสัมภาษณ์เชิงลึกให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายโดยจะต้องได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการตรวจรับพัสดุก่อนดำเนินการพร้อมทั้งบันทึกภาพและเสียงในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประกอบการจัดทำรายงานด้วย
  2. ขอบเขตงานส่วนที่ 2 ด้านการออกแบบและจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร
    2.1 จัดทำสถานะปัจจุบันของสถาปัตยกรรมองค์กรของกรมธุรกิจพลังงาน (Current state of Enterprise Architecture) ซึ่งครอบคลุม อย่างน้อย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านธุรกิจ (Business) ด้านแอปพลิเคชัน (Application) ด้านข้อมูล (Data) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security) ที่แสดงกลไกความเชื่อมโยง อย่างน้อย 5 ด้าน โดยครอบคลุมฟังก์ชันงานด้านต่าง ๆ ของกรมธุรกิจพลังงานรวมทั้งสำรวจประเด็นปัญหาพร้อมให้ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขปัญหา
    2.2 จัดทำสถานะอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กรของกรมธุรกิจพลังงานเพื่อกำหนดกรอบของสถานะอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กรของกรมธุรกิจพลังงาน (Future state of Enterprise Architecture) ที่แสดงกลไกการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งภายในและภายนอกสำหรับการปฏิบัติงาน (Operation) และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยครอบคลุมฟังก์ชันงานด้านต่าง ๆ ของกรมธุรกิจพลังงาน ตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 เพื่อนำมาปรับปรุงประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมาย ของกรมธุรกิจพลังงานโดยแสดงให้เห็นภาพความสัมพันธ์แบบองค์รวมของทั้งองค์กร (Conceptual diagram) และรายละเอียดส่วนที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเพื่อแสดงส่วนที่เป็นประเด็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขปรับปรุงส่วนที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีชื้นโดยเฉพาะความซ้ำซ้อนความไม่ยืดหยุ่นและจุดที่ทำให้เกิดความสูญเสีย (Waste) ทั้งเวลาและทรัพยากรสำคัญ อย่างน้อย 5 ด้านที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน
    2.3 วิเคราะห์ถึงความแตกต่างระหว่างสถานะปัจจุบันและอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กรของกรมธุรกิจพลังงาน (Gap Analysis) ในข้อ 2.1 และ ข้อ 2.2 และจัดลำดับความสำคัญของความต้องการด้านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ของผู้รับบริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและโจทย์ปัญหาเชิงวิเคราะห์ที่เก็บรวบรวมจากผู้ถือผลประโยชน์ร่วม (Stakeholders) โดยพิจารณาความเป็นไปได้ในการ พัฒนาควบคู่ไปด้วยเพื่อนำไปจัดทำแผนการดำเนินงาน (Roadmap) ใช้สำหรับการปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมองค์กร จากปัจจุบันไปสู่อนาคตตามที่ได้ออกแบบไว้สำหรับการพัฒนางานให้ครอบคลุมด้านข้อมูลสารสนเทศและด้านอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อกรมธุรกิจพลังงานและจัดทำแผนการดำเนินงานให้บรรลุผลสถานะอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กรสำเร็จในระยะ 5 ปี
  3. ขอบเขตงานส่วนที่ 3 ด้านการวิเคราะห์ ประมวลผล รายงาน และสรุปผล
    3.1 แสดงการใช้ประโยชน์จากสถาปัตยกรรมตามข้อ 2.2 และข้อ 2.3 เพื่อพัฒนาระบบการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตั้งแต่กระบวนการรับคำขอพร้อมเอกสารประกอบ
    กระบวนการพิจารณาเอกสารและสถานที่ ตลอดจนกระบวนการออกใบอนุญาตและการรับชำระค่าธรรมเนียม ดังนี้
    (1) จัดทำแผนภาพการไหลของงาน (Process Flow Diagram)
    (2) จัดทำรายการข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (Data Entity/Data Component Catalog) ชุดข้อมูล โครงสร้างข้อมูล รายการชุดข้อมูลสำคัญพร้อมคำอธิบายรายชุดข้อมูล (Metadata)
    (3) จัดทำร่างขอบเขตงานระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) และจัดลำดับความสำคัญของระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) โดยในระยะแรกให้จัดทำร่างขอบเขตงานตามงบประมาณที่กรมธุรกิจพลังงาน ได้รับการจัดสรรกรณีที่ไม่สามารถจัดทำร่างขอบเขตงานของระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ให้แล้วเสร็จตามงบประมาณดังกล่าวได้ให้จัดทำร่างขอบเขตงานประกอบการของบประมาณส่วนที่เหลืออีกฉบับด้วยโดยเป็นการออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมระบบ ภาษาที่ใช้พัฒนา ระบบฐานข้อมูลและระบบปฏิบัติการต่าง ๆ
    ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเตอร์เน็ตที่ทันสมัย ที่สามารถติดตั้ง และทำงานบนระบบ Cloud ที่กำหนด (Government Cloud) ได้เป็นอย่างดี และให้สอดคล้องตามคู่มือปฏิบัติตามกระบวนการมาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ISO/IEC 29110 สำหรับหน่วยงานภาครัฐโดยครอบคลุมทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ระบบซอฟต์แวร์หน้าจอผู้ใช้ การออกรายงานเพื่อการวิเคราะห์ รายงานสำหรับเจ้าหน้าที่การเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบงานอื่นทั้ง ภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องและการถ่ายโอนข้อมูลจากแหล่งจัดเก็บเดิมมายังระบบฐานข้อมูลใหม่ที่พัฒนาตามขอบเขตงานที่จัดทำ
    (4) ตัวอย่างระบบตั้งแต่ต้นจนจบ (Prototype) สำหรับกระบวนการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมซึ่งเป็นระบบที่รองรับการให้บริการกับผู้ประกอบการผ่านแพลตฟอร์มกลางชองกรมธุรกิจพลังงาน (DOEB Government to Business Platform – G2B) ที่มีการเชื่อมโยงงานบริการด้านความปลอดภัย ด้านการค้า และด้านคุณภาพในช่องทางเดียว และสามารถเชื่อมโยงให้บริการผ่านระบบศูนย์กลางบริการภาครัฐ สำหรับประชาชน (Biz Portal)
    และจัดทำต้นแบบการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงวิเคราะห์ในรูปแบบหน้าจอแสดงผล ข้อมูลเชิงสถิติ (Dashboard) หรือโมเดลคณิตศาสตร์ อย่างน้อย 2 ชิ้นงาน
    3.2 จัดสัมมนาสรุปผลการตำเนินโครงการเพื่อนำเสนอสถาปัตยกรรมองค์กรตัวอย่างระบบตั้งแต่ต้นจนจบ (Prototype) สำหรับกระบวนการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
    และต้นแบบการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงวิเคราะห์ในรูปแบบ หน้าจอแสดงผลข้อมูลเชิงสถิติ (Dashboard) ให้แก่ผู้บริหารกรมธุรกิจพลังงานเพื่อรับพิงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จำนวน 1 ครั้ง ก่อนการส่งมอบงานงวดสุดท้าย
    3.3 จัดประชุมและจัดทำรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินโครงการเกี่ยวกับความก้าวหน้าของงานความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นหรือปัญหาที่พบในการดำเนินงาน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ดังนี้
    (1) ภายในระยะเวลา 30 วัน นับถัดจากวันนามในสัญญา
  • จัดประชุมเปิดโครงการ (Kick Off) และให้ความรู้เบื้องต้นตามหลักการ พื้นฐานการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรแก่เจ้าหน้าที่กรมธุรกิจพลังงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้วยวิธีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • จัดประชุมเพื่อรายงานความก้าวหน้าเบื้องต้นสำหรับผลดำเนินการทบทวน วรรณกรรมตลอดจนกรณีศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามขอบเขตงาน ในข้อ 1.1 พร้อมทั้งส่งมอบรายละเอียดตามงวดงานที่ 1
    (2) ภายในระยะเวลา 60 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา
  • จัดประชุมเพื่อรายงานความก้าวหน้าสำหรับการดำเนินงาน และผลการจัด สัมมนาเชิงปฏิบัติการตามขอบเขตงานในข้อ 1.2และตามขอบเขตงาน ในข้อ 1.3
    (3) ภายในระยะเวลา 90 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา
  • จัดประชุมเพื่อรายงานความก้าวหน้าสำหรับผลการวิเคราะห์สถานะปัจจุบัน ของสถาปัตยกรรมองค์กรตามขอบเขตงานในข้อ 2.1 พร้อมทั้งส่งมอบรายละเอียด ตามงวดงานที่ 2
    (4) ภายในระยะเวลา 120 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา
  • จัดประชุมเพื่อรายงานความก้าวหน้าสำหรับการจัดทำสถานะอนาคต ของสถาปัตยกรรมองค์กร ตามขอบเขตงานในข้อ 2.2
    (5) ภายในระยะเวลา 150 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา
  • จัดประชุมเพื่อรายงานความก้าวหน้าสำหรับการวิเคราะห์ถึงความแตกต่าง ระหว่างสถานะปัจจุบันและอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กรและชัดลำดับ ความสำคัญของความต้องการตามขอบเขตงานในข้อ 2.3
    (6) ภายในระยะเวลา 180 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา
  • จัดประชุมเพื่อรายงานความก้าวหน้าสำหรับการทำรายละเอียดตามขอบเขตงาน ในข้อ 3.1 พร้อมทั้งล่งมอบรายละเอียดตามงวดงานที่ 3
    (7) ภายในระยะเวลา 210 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา
  • จัดสัมมนาสรุปผลการดำเนินโครงการให้แก่ผู้บริหารกรมธุรกิจพลังงานเพื่อรับฟังความคิดเห็นตามขอบเขตงานในข้อ 3.2 และจัดประชุมเพื่อเสนอร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วยรายละเอียดตามขอบเขตงานส่วนที่ 1 ขอบเขตงานส่วนที่ 2 และขอบเขตงานส่วนที่ 3
    (8) ภายในระยะเวลา 240 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา
  • จัดประชุมเพื่อรายงานความก้าวหน้า และล่งมอบรายงานฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วยรายละเอียดตามขอบเขตงานส่วนที่ 1 ขอบเขตงานส่วนที่ 2 และขอบเขตงานส่วนที่ 3 พร้อมทั้งส่งมอบรายละเอียดตามงวดงานที่ 4