สถานที่ : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ผู้ว่าจ้าง : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

วันที่เริ่มโครงการ : 12 มีนาคม 2567

วันสิ้นสุดโครงการ : 9 กรกฎาคม 2567

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ให้คำปรึกษา เสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา ประเมินผล ด้านการบริหารจัดการ และด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สนับสนุนการบริหารงาน และการปฏิบัติงานตามภารกิจได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

2. เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ให้คำปรึกษาแนะนำ กำกับ ดูแล และประเมินผล การบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การเชื่อมโยงทั้งภายในและภายนอกกระทรวงพาณิชย์ ตามแนวทางการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกระทรวงพาณิชย์ ให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์และนโยบายภาครัฐ

3. เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ให้แก่บุคลากรของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ขอบเขตการดำเนินงาน

บริษัทฯ จะดำเนินงานตามขอบเขตของงานจ้างที่ปรึกษา ดังนี้

1. สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำปรึกษา ให้ข้อเสนอแนะ ประเมินผล การดำเนินการในปัจจุบัน ดังนี้

1.1 ระบบงานปัจจุบัน (Existing System Analysis) ของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ และความต้องการขององค์กร (Requirement Definition) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1.2 ด้านการบริหารจัดการและด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสนับสนุนการบริหารงานและการปฏิบัติงานตามภารกิจได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

1.3 ด้านการเชื่อมโยงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกกระทรวงพาณิชย์ตามแนวทางการปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกระทรวงพาณิชย์ ให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์และนโยบายภาครัฐ

1.4 ด้านกฎหมายดิจิทัล กฎระเบียบ แนวนโยบาย ข้อปฏิบัติ หรือตามมติ ครม. กำหนด ที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

2. วิเคราะห์ผลการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัลของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พร้อมผลการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ เทียบกับแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจการพาณิชย์ของกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2566 – 2570 และแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจการพาณิชย์ของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2566 – 2570 พร้อมเสนอแนะแนวทางการทบทวนแผนฯ แนวทางการขับเคลื่อนฯ ที่เกี่ยวข้อง

3. ศึกษา วิเคราะห์ ทบทวน วางแผน จัดทำแนวทางการดำเนินงาน และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัล (รายปี) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจการพาณิชย์ของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2566 – 2570 และนโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

4. ทบทวนและจัดทำแนวทางการพัฒนาบุคลากรของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปี 2567 – 2568 ที่สอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาทักษะดิจิทัล ของสำนักงาน ก.พ. หรือตามนโยบายภาครัฐ พร้อมทั้งแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

5. เสนอเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่สามารถปรับเข้ากับการทำงานของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยมีผลการศึกษาและชี้ให้เห็นถึงรูปแบบการประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับกระบวนงานที่สำคัญของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

6. จัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ (Specification) โดยวิเคราะห์จากความต้องการ เช่น ด้านข้อมูล ด้านฟังก์ชันการใช้งานของระบบ ด้านการเชื่อมต่อกับระบบงานอื่นๆ และคำนึงถึงความต้องการของกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) พร้อมเสนอแนะแนวทางการเลือกใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้องเหมาะสมกับสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงพาณิชย์ จำนวนไม่น้อยกว่า 2 โครงการ

7. วิเคราะห์ข้อมูลและปริมาณการขยายตัวของระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศ โดยวิเคราะห์และประเมินด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Technology) เช่น สถาปัตยกรรมระบบ (Application Architecture) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่ส่งผลต่อระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อให้ระบบต่างๆ มีเสถียรภาพ มีประสิทธิภาพ

8. ตรวจสอบช่องโหว่ ทดสอบการบุกรุกระบบสารสนเทศของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะและรายละเอียดการแก้ไข

9. ประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและด้านระบบรักษาความปลอดภัยพร้อมจัดทำข้อเสนอแนะและรายละเอียดในการแก้ไข

10. จัดฝึกอบรมให้ความรู้ทางวิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง มีระยะเวลาการฝึกอบรมรวมจำนวนไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง ณ สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ หรือตามที่คณะกรรมการตรวจรับฯ กำหนดโดยเสนอแผนการฝึกอบรม หัวข้อ/หลักสูตรที่จะอบรม เนื้อหาวิธีการ (Preview) ประวัติการสอนและประสบการณ์ของวิทยากร ต่อคณะกรรมการตรวจรับฯ เห็นชอบก่อนดำเนินการ รวมทั้งวัดผลการฝึกอบรมในทุกหัวข้อ/หลักสูตรพร้อมทั้งบันทึกภาพและเสียงการฝึกอบรมในรูปแบบวิดีโอ พร้อมส่งมอบไฟล์วิดีโอ (ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมในแต่ละหัวข้อ/หลักสูตรไม่น้อยกว่า 20 คน)

11. จัดกิจกรรมถ่ายทอดแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยนำเสนอหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน ที่ประสบความสำเร็จในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้รับการยอมรับ (Best Practice) จำนวน 1 หน่วยงาน พร้อมทั้งประสานเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานดังกล่าว เสนอแนะแนวทางการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ณ สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ หรือประสานจัดการให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ เข้าศึกษาดูงาน ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดข้อมูล หรือการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ หรือการบริหารจัดการระบบคลาวด์ หรือระบบสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ทันสมัย (จำนวนเวลาไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง และผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 10 คน) รวมทั้งบันทึกภาพและเสียงการจัดกิจกรรมในรูปแบบวิดีโอ พร้อมส่งมอบไฟล์วิดีโอ ทั้งนี้ให้นำเสนอรายละเอียดต่อคณะกรรมการตรวจรับฯ เห็นชอบก่อนดำเนินการ

12. ให้คำแนะนำ ทบทวน พร้อมจัดทำร่างนโยบายและแนวปฏิบัติของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ดังนี้

12.1 นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ

12.2 นโยบายและนแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

12.3 นโยบายและแนวปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอกนิกส์ พ.ศ. 2565

12.4 แผนแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนและภัยพิบัติ

12.5 นโยบายและแนวปฏิบัติอื่นๆ ตามที่กฎหมายหรือภาครัฐกำหนด เช่น พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 พ.ร.บ. การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ.2562 เป็นต้น

13. ติดตามความคืบหน้าและประเมินผลการดำเนินงานโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พร้อมข้อเสนอแนะ อย่างน้อย 5 โครงการ

14. สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัล และข้อมูลสารสนเทศของกระทรวงพาณิชย์

15. ส่งที่ปรึกษาที่ระบุภายในโครงการฯ มาปฏิบัติงานที่สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้คำปรึกษา และร่วมปฏิบัติงาน อย่างน้อย 1 คน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน ตามวัน – เวลาราชการ ตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 16.30 น. และตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ร้องขอ โดยสามารถให้คำปรึกษาแนะนำ และสามารถเข้าร่วมประชุมชี้แจงทำความเข้าใจ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น (Incident) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตลอดจนร่วมพิจารณาให้ความเห็นในการพัฒนาออกแบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร