วันที่เริ่มโครงการ : 2 สิงหาคม 2561
วันสิ้นสุดโครงการ : 30 มีนาคม 2562

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ชัดเจนต่อสถานะปัจจุบันสถาปัตยกรรมองค์กร (Current Enterprise Architecture) ทั้ง 5 ด้าน ประกอบไปด้วย ด้านธุรกิจ (Business) ด้านแอปพลิเคชั่น (Application) ด้านข้อมูล (Data) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และ ด้านความปลอดภัย (Security)
  2. เพื่อกำหนดกรอบและจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมาย (Target Enterprise Architecture) ทั้ง 5 ด้าน ให้ได้มาซึ่งสถาปัตยกรรมองค์กรต้นแบบของ รฟม.
  3. เพื่อกำหนดแผนการดำเนินงาน (Roadmap) ที่ส่งผลต่อการบรรลุถึงเป้าหมายอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กร (Target Enterprise Architecture)

ขอบเขตของโครงสร้างงาน

  1. จัดทำแผนการดำเนินงานโครงการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรของ รฟม. โดยละเอียด พร้อม แสดงผลลัพธ์ของการดำเนินงานรายกิจกรรม และจัดให้มีการประชุมเริ่มงาน (Kick off Meeting) เพื่อนำเสนอแผนการดำเนินงานให้พิจารณาก่อนการดำเนินงานจริง
  2. ประเมินระดับความพร้อมต่อการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร ของ รฟม. และเลือกกรอบแนวทางการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรต้นแบบ ของ รฟม.
  3. จัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรที่มีอยู่ (Current Enterprise Architecture) ของ รฟม
  4. ออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมาย (Target Enterprise Architecture) เพื่อแสดงให้เห็น ถึงสถานะอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กร (Future State of Enterprise Architecture)ต้นแบบของ รฟม. โดยนำเอาทั้งปัจจัยภายใน (ประเด็นปัญหาจากการวิเคราะห์สถานะปัจจุบัน และความต้องการ) และปัจจัยภายนอกมาใช้เพื่อบูรณาการสถาปัตยกรรมองค์กรทั้ง 5 ด้าน พร้อมทั้งจัดทำรายงาน
  5. วิเคราะห์หาความแตกต่างระหว่างสถาปัตยกรรมองค์กรในปัจจุบัน (Current Enterprise Architecture) และสถาปัตยกรรมเปัาหมายที่ต้องการในอนาคต (Target Enterprise Architecture) พร้อมจัดทำรายงาน
  6. ศึกษา วิเคราะห์สมรรถนะของบุคลากร และกำหนดแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี สารสนเทศให้เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ อีก ทั้งสอดคล้องกับการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร และเสนอแนะแนวทางการเพิ่มสมรรถนะของ ผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมทั้งจัดทำรายงานแนวทางการพัฒนาบุคลากร
  7. จัดการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ร่วมกับผู้เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวขาญในแต่ละด้าน เพื่อรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ต่อแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมายในอนาคต (Target Enterprise Architecture) ของต้นแบบ รฟม.
  8. จัดประชุมสัมมนาภายใน รฟม. เพื่อนำเสนอผลการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรที่มีอยู่(Current Architecture) ผลการออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมาย (Target Architecture) ต้นแบบของ รฟม. และ Gap analysis จำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 0.5 วัน โดยต้องนำข้อมูลที่จะนำเสนอต่อที่ประชุมให้ รฟม. พิจารณาตรวจสอบก่อนไม่น้อยกว่า 5 วันทำการของ รฟม.
  9. จัดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี/องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร Enterprise Architecture) โดยจัดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวผ่านทางการศึกษาดู งานจากหน่วยงานที่มีประสบการณ์และมีองค์ความรู้ดังกล่าว สำหรับคณะผู้บริหารและ ผู้ปฏิบัติงานของ รฟม.  เพื่อพัฒนาบุคลากร เพิ่มพูนความรู้ความสามารถต้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งเพื่อนำความรู้และประสบการณ์ต่างๆ มาประยุกต์ใช้ ประโยชน์ และพัฒนาคุณภาพในการดำเนินงานงานของ รฟม. ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งนี้ จะต้องจัดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวผ่านทางการศึกษาดูงานภายใน 90 วันนับถัดจาก วันลงนามในสัญญา
  10. จัดหาวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อดำเนินการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนา สถาปัตยกรรมองค์กร ให้กับเจ้าหน้าที่ รฟม. จำนวน 2 หลักสูตร
  11. ผู้จัดการโครงการและทีมที่ปรึกษา ต้องประขุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ของ รฟม. เพื่อนำเสนอ ความก้าวหน้า ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงานอย่างน้อยเดือนละ1 ครั้ง
  12. ที่ปรึกษาต้องจัดส่งรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน (Progress Report) โดยนำเสนอความ คืบหน้าของการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค แนวทางการแก้ไข และแนวทางการดำเนินงาน ต่อไป ให้แก่รฟม. ทุกๆ 30 วันนับถัดจากวันลงนามในสัญญา ตลอดจนเสร็จสิ้นการดำเนินงาน
  13. ในระหว่างช่วงระยะเวลาการดำเนินงานตามสัญญา ที่ปรึกษาต้องให้การสนับสนุน ให้คำแนะนำ จัดเตรียมข้อมูล/เอกสารต่างๆ และเข้าร่วมชี้แจงทำความเข้าใจต่อผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น คณะกรรมการ รฟม.คณะอนุกรรมการ คณะทำงานหรือหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องต้นรวมทั้งให้คำปรึกษาและแนะนำเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
  14. หากที่ปรึกษามีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงทีมงานที่ปรึกษาในระหว่างดำเนินโครงการ จะต้องได้รับความห็นชอบจาก รฟม. ก่อน และบุคลากรที่ปรับเปลี่ยนหรือทดแทนจะต้องมี คุณสมบัติไม่ตํ่ากว่าบุคลากรเดิม
  15. ที่ปรึกษาต้องควบคุมดูแลและรับผิดขอบบุคลากรของที่ปรึกษาให้ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ นโยบาย หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่ รฟม. กำหนดไว้ และควบคุมดูแลให้เก็บรักษา ความลับของ รฟม. อย่างเคร่งครัด