สถานที่ : กระทรวงมหาดไทย
ผู้ว่าจ้าง : กระทรวงมหาดไทย
วันที่เริ่มโครงการ :    24 พฤศจิกายน 61
วันสิ้นสุดโครงการ :   16 กุมภาพันธ์  63
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรของกระทรวงมหาดไทยให้สามารถสนับสนุนการเชื่อมโยงการทำงานให้เกิดการบูรณาการระหว่างกระบวนงานสำคัญและอำนวยความสะดวกในการติดต่อและทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
2. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ความรู้เและความเข้าใจที่ชัดเจนต่อสถานภาพปัจจุบัน (Current Architecture) ทั้ง 4 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Business Architecture) ด้าน ระบบงานและโปรแกรมประยุกต์ (Application Architecture) ด้านข้อมูลสารสนเทศ (Data/Information Architecture) ด้านเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานและความมั่นคงปลอดภัย (Technology Infrastructure and Security Architecture)
3. ศึกษาวิเคราะห์และจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรในปัจจุบัน (As Is Architecture) และสถาปัตยกรรมองค์กรที่ต้องการในอนาคต (To Be Architecture) ตามแนวคิดของสถาปัตยกรรมองค์กรใน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจหลัก ภารกิจรองของหน่วยงาน (กรมและรัฐวิสาหกิจ) ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
4. เพื่อจัดหาเครื่องมือในการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรแก่หน่วยงาน (กรมและรัฐวิสาหกิจ) ใน สังกัดกระทรวงมหาดไทย
5. เพื่อประเมินระดับความพร้อมในการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรกระทรวงมหาดไทย
6. เพื่อจัดทำกรอบการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรกระทรวงมหาดไทย (MOI EA Framework)
7. เพื่อจัดทำกรอบการบริหารและกำกับดูแลสถาปัตยกรรมองค์กร (EA Governance) ของ กระทรวงมหาดไทย
8. เพื่อจัดทำแผนการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมองค์กร (EA Transition Plan) ของสำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ขอบเขตโครงการ
ดำเนินการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) โดยอ้างอิงตามกรอบแนวทาง (Framework) ที่ยอมรับในระดับสากล อาทิ TOGAF, FEA, Zachman ฯลฯ และทบทวนแผนปฎิบัติการ ดิจิจทัลของกระทรวงมหาดไทยระยะ 4 ปี ให้สอดคลองกับสกาปัตยกรรมองค์กรที่ได้ออกแบบไว้โดยมีขอบเขต การดำเนินงาน ดังนี้
 
งวดงานที่ 1
4.1 จัดทำรายงานการศึกษาขั้นต้น (Inception Report) ประกอบด้วยรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
4.1.1 ขอบเขตงาน ขั้นตอน รูปแบบ วิธีการดำเนินงาน ระยะเวลาการดำเนินงาน โครงสร้างการบริหารจัดการโครงการ โครงสร้างคณะทำงานและบทบาทความรับผิดชอบของผู้รับจ้างและ บุคลากรของกระทรวงมหาดไทยที่จะดำเนินการร่วมกับผู้รับจ้างแผนการสื่อสารและการบริหารโครงการ รายการส่งมอบ ข้อตกลงร่วมกันในการทำงานและกรอบแนวทาง (Framework)
4.1.2 แผนการดำเนินงานงานโครงการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรของกระทรวง มหาดไทยโดยละเอียด ประกอบด้วย การจัดทำกรอบแนวคิด ขั้นตอนการดำเนินงาน วิธีการดำเนินงาน พร้อมแสดงผลลัพธ์ของการดำเนินงานรายกิจกรรม
4.2 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพี่อการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรเข้าใจถึงสิ่งที่องค์กรจะ ดำเนินการ รวมถึงการสื่อสารเพี่อที่จะทำให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย
1) การจัดทำสื่อวิดิโอ ความยาวไม่น้อยกว่า 3 นาที จำนวน 1 ชุด
2) การจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ในลักษณะของ Poster 1 รูปแบบ จำนวน 160 แผ่น
3) การจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ในลักษณะของ Brochure 1 รูปแบบ จำนวน 300 แผ่น
4.3 จัดสัมมนาเปิดตัวโครงการ (Kick-Off Meeting) แก่ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง จำนวนไม่น้อยกว่า 160 คน จัดในสถานที่เอกชน (โรงแรม) เป็นเวลา 1 วัน (ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง) โดยเป็นการให้ความรู้และ ความสำคัญของการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร แนวทางการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร รวมทั้งการนำเสนอแผนการดำเนินงานเพี่อสร้างความตระหนักให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการ จัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) พร้อมจัดทำรายงานสรุปผลการสัมมนาเปิดตัวโครงการ (Kick-Off Meeting)
4.4 จัดอบรมเพี่อสร้างองค์ความรู้โดยการบรรยายในหัวข้อ EA for Executive จำนวน 1 รุ่นให้แก่ ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย จำนวนไม่น้อยกว่า 50 คน โดยมีระยะเวลาการฝึกอบรม 6 ชั่วโมง พร้อมจัดทำ รายงานสรุปผลการจัดอบรมหัวข้อ EA for Executive สำหรับผู้บริหาร
 
งวดงานที่ 2
4.5 จัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร จำนวน 12 รุ่น โดยมีผู้เข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 50 คน/รุ่น 2 ครั้ง ดังนี้ อบรมให้แก่บุคลากรในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 1 รุ่น เป็น เวลา 2 วัน วันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง (ไม่รวมเวลาพักรับประทานอาหารกลางวัน) จำนวนไม่น้อยกว่า 100 คน 2 ครั้ง และอบรมให้แก่กรมและรัฐวิสาหกิจ (หน่วยงานละ 1 รุ่น) จำนวน 11 รุ่น รุ่นละ 2 วัน วันละไม่ น้อยกว่า 6 ชั่วโมง (ไม่รวมเวลาพักรับประทานอาหารกลางวัน) จำนวนไม่น้อยกว่า 50 คน 2 ครั้ง พร้อมจัดทำแผนการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรฯ ด้วย
4.5.1 ผู้รับจ้างจะต้องจัดทำแผนการฝึกอบรมหลักสูตรโดยมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้
1) วัตถุประสงค์
2) หัวข้อการฝึกอบรม
3) วิธีการฝึกอบรม
4) เอกสารประกอบการฝึกอบรม
5) ระยะเวลาการฝึกอบรม
6) สถานที่ฝึกอบรม
7) รายละเอียดอื่นๆ (ถ้ามี)
4.5.2 ผู้รับจ้างต้องเสนอแผนการฝึกอบรมให้ผู้ว่าจ้างพิจารณาและให้ความเห็นชอบก่อนการฝึกอบรม โดยมีเงื่อนไขดังนี้
1) ผู้รับจ้างเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการฝึกกอบรม อาทิ วิทยากร อาหารกลางวัน อาหารว่าง เอกสารในการฝึกอบรม ตลอดจนจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมและสถานที่ในการฝึกอบรม
2) วิทยากรที่จะมาฝึกอบรมดังกล่าวต้องมีความรู้ความสามารถเป็นวิทยากรอบรมให้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) ผลที่ได้จากการฝึกอบรมทั้งหมดจะต้องนำมาใช้ประกอบการกำหนดกรอบของสถานะอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กรทั้ง 4 ด้าน
4.5.3 ในกรณีที่ผู้รับจ้างได้มีการจัดเตรียมการฝึกอบรมตามกหนดวันที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจรับการจ้างฯ แล้วแต่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมาไม่ครบจำนวนไม่ถือว่าเป็นความผิดของผู้รับจ้างและให้สามารถจัดฝึกอบรมได้
4.6 ประเมินความพร้อมของหน่วยงานต่อการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรโดยใช้กรอบแนวทางตามมาตรฐานสากล เช่น ACMM Model, MIT Model, NASCIO Model, GAO Mode เป็นต้น และครอบคลุมใน ประเด็นด้านต่างๆ ได้แก่ การทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาลตร์ กลยุทธ์ แผนปฏิบัติการดิจิทัลของ กระทรวงมหาดไทยและความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมจัดทำรายงานสรุปผลการประเมินความ พร้อมของกระทรวงมหาดไทยที่มีต่อการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (EA) รวมทั้งระบุปัญหา/อุปสรรคและข้อแนะนำ/แนวทางแก้ไข
4.7 จัดทำรายงานการศึกษาเพี่อคัดเลือกกรอบแนวทางและเครื่องมือ (EA Framework/Tool) ที่เหมาะสม โดยดำเนินการศึกษาเปรียบเทียบกรอบการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร (EA development framework) อย่างน้อย 3 กรอบแนวทางการพัฒนาตามมาตรฐานสากล โดยเสนอให้ผู้ว่าจ้างพิจารณาคัดเลือกกรอบแนวทางที่เหมาะสมก่อนนำมาใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรของกระทรวงมหาดไทย
 
งวดงานที่ 3
4.8 ศึกษาสำรวจวิเคราะห์และจัดทำสถานะภาพปัจจุบัน (As Is Architecture) ตามแนวทางของสถาปัตยกรรมองค์กร โดยมีรายละเอียดการดำเนินงานดังนี้
4.8.1 ดำเนินการศึกษา สำรวจและวิเคราะห์สถานะภาพปัจจุบัน (As Is Architecture) ของทุกกรมในสังกัดกระทรวงมหาดไทยโดยครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน สิ่งประกอบด้วยด้านกระบวนการดำเนินงาน (Business Architecture) ด้านระบบงานและโปรแกรมประยุกต์ (Application Architecture) ด้านข้อมูล สารสนเทศ (Data/Information Architecture) ด้านเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานและความมั่นคงปลอดภัย (Infrastructure and Security Architecture) โดยมีเนื้อหา อย่างน้อย ดังนี้
1) โครงสร้างองค์กรของหน่วยงาน (กรมและรัฐวิสาหกิจ) ในสังกัดกระทรวง มหาดไทย
2) กระบวนการทำงานปัจจุบันของทุกหน่วยงาน (กรมและรัฐวิสาหกิจ) ในสังกัด       กระทรวงมหาดไทย ประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะ
3) รายงานข้อมูลที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย รายการข้อมูล หน่วยงาน ผู้ผลิตข้อมูล วิธีการจัดเก็บ รูปแบบการจัดเก็บ ผู้ใช้งานข้อมูล ความถี่ในการปรับปรุง เป็นอย่างน้อย
4) การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่รองรับกระบวนการทำงานในปัจจุบันของหน่วยงาน (กรมและรัฐวิสาหกิจ) ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ผลการวิเคราะห์สภาพการใช้งานเทคโนโลยีลารสนเทศและการสื่อสารปัจจุบัน ประเด็นปัญหา ข้อเสนอแนะในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก
4.8.2 ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทยเพี่อให้บุคลากรของกระทรวงมหาดไทยสามารถดำเนินการเองได้ โดยมีคณะทำงานที่ผู้รับจ้างจัดหามาเป็นพี่เลี้ยงและให้คำแนะนำ ซึ่งการดำเนินงานจะครอบคลุมรายละเอียด ดังนี้
4.8.2.1 ทำหน้าที่พี่เลี้ยงและให้คำแนะนำด้านกระบวนการดำเนินงาน (Business Architecture) ซึ่งครอบคลุมกระบวนการหลักของรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทยอย่างน้อยหน่วยงานละ 1 กระบวนการ
4.8.2.2 กำหนดกรอบและให้คำแนะนำในการจัดทำสถาปัตยกรรมด้านข้อมูล สารสนเทศ (Data/Information Architecture) ที่แสดงถึงข้อมูลสำคัญประกอบกระบวนการหลักในข้อ 4.8.2.1 ของรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมรายการข้อมูลที่ให้บริการของกระบวนการหลักแก่หน่วยงานภายนอก (ถ้ามี) ทั้งนี้ เพี่อให้บุคลากรของกระทรวงมหาดไทยสามารถดำเนินการเองได้โดยมีเจ้าหน้าที่ที่ผู้รับจ้างจัดหามาทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง
4.8.2.3 กำหนดกรอบและให้คำแนะนำในการจัดทำสถาปัตยกรรมด้านระบบงาน และโปรแกรมประยุต์ (Application Architecture) ของรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทยที่มีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้ รายการระบบงาน (Application) แผนภาพแสดงการเชื่อมต่อของระบบงาน(Context diagram) ฐานข้อมูล, การสำรองข้อมูลและเทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนา ทั้งนี้ เพี่อให้บุคลากรของกระทรวงมหาดไทยสามารถดำเนินการเองได้โดยมีเจ้าหน้าที่ที่ผู้รับจ้างจัดหามาทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง
4.8.2.4 กำหนดกรอบและให้คำแนะนำในการจัดทำสถาปัตยกรรมด้านเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐานและความมั่นคงปลอดภัย (infrastructure and Security Architecture) ของรัฐวิสาหกิจใน สังกัดกระทรวงมหาดไทยที่ครอบคลุมในด้านแผนผังระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่าย แผนผังระบบเครือข่าย การ จัดแบ่งพื้นที่ (Zone diagram) การแบ่งกลุ่มผู้ใช้งานและแผนผังอุปกรณ์ด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัย สารสนเทศ ทั้งนี้ เพี่อให้บุคลากรของกระทรวงมหาดใทยสามารถดำเนินการเองได้ โดยมีเจ้าหน้าที่ที่ผู้รับจ้าง จัดหามาทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง
 
งวดงานที่ 4
4.9 ออกแบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Platform) การบริหารจัดการภายในองค์กรของ กระทรวงมหาดไทยในทุกระดับของการใช้งานพร้อมจัดทำรายงานการออกแบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Platform) โดยมีเนื้อหาอย่างน้อย ดังนี้
4.9.1 ชุดข้อมูลสำคัญของทุกกรมและรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทยสำหรับเสนอ ผู้ว่าจ้างคัดเลือกเพี่อพัฒนารูปแบบฐานข้อมูล
4.9.2 ดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Platform) การบริหารจัดการภายในองค์กรในทุกระดับ ของการใช้งาน ได้แก่
– SOA
– Big Data
– GIS
4.10 ออกแบบและจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรที่ต้องการในอนาคต (To Be Architecture) ตาม แนวทางของสถาปัตยกรรมองค์กรโดยมีรายละเอียดการดำเนินงาน ดังนี้
4.10.1 ให้คำแนะนำและอำนวยการในการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมายด้าน กระบวนการดำเนินงาน (Business Architecture) ให้มีความครอบคลุมด้านภารกิจหลัก วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ โครงสร้างองค์กร กระบวนงานสร้างคุณค่าและกระบวนงานสนับสนุนขององค์กร โดยผู้รับจ้างต้องจัดหาเจ้าหน้าที่มาให้คำปรึกษาทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้นับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทยและผู้รับจ้างต้องจัดทำสถาปัตยกรรมเป้าหมายด้านการดำเนินงานให้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยและกรมทุกกรมในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
4.10.2 ให้คำแนะนำและอำนวยการในการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมายด้านข้อมูลสารสนเทศ (Data/information Architecture) ที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับกระบวนการสร้างคุณค่าและกระบวนการสนับสนุนขององค์กรโดยผู้รับจ้างต้องจัดหาเจ้าหน้าที่มาให้คำปรึกษาทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้นับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทยและผู้รับจ้างต้องจัดทำสถาปัตยกรรมเป้าหมายด้านข้อมูลสารสนเทศให้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยและกรมทุกกรมในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
4.10.3 ให้คำแนะนำและอำนวยการในการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมายด้าน ระบบงานและโปรแกรมประยุกต์ (Application Architecture) โดยออกแบบสถาปัตยกรรมของระบบงาน และโปรแกรมประยุกต์ของหน่วยงานที่รองรับกับกระบวนงานสร้างคุณค่าและกระบวนงานสนับสนุนของ องค์กรโดยผู้รับจ้างต้องจัดหาเจ้าหน้าที่มาให้คำปรึกษาทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้นับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้ สังกัดกระทรวงมหาดไทยและผู้รับจ้างต้องจัดทำสถาปัตยกรรมด้านระบบงานและโปรแกรมประยุกต์ให้แก่ทุก กรมในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
4.10.4 ให้คำแนะนำและอำนวยการในการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมายด้าน เทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน (Technology and infrastructure Architecture) ที่ครอบคลุมด้าน อุปกรณ์ (Hardware) แผนผังระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่าย แผนผังระบบเครือข่ายและระบบรักษาความมั่นคง ปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ โดยผู้รับจ้างต้องจัดหาเจ้าหน้าที่มาให้คำปรึกษาทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทยและผู้รับจ้างต้องจัดทำสถาปัตยกรรมด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานให้แก่ทุกกรมในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
4.11 จัดทำรายงานมาตรฐาน (Technology Reference Model and standard Profile) ของ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
4.12 จัดหาเครื่องมือ (EA Tool) ที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการจัดเก็บรายละเอียดเชิงสถาปัตยกรรม มาเพี่อจัดทำรายละเอียดสถาปัตยกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน (As Is Architecture) และสถาปัตยกรรมองค์กรที่ ต้องการในอนาคต (To Be Architecture) ที่ออกแบบไว้ จำนวน 10  ใบอนุญาต (License) โดยเครื่องมือ (EA Tool) ที่ใช้ในการจัดเก็บรายละเอียดเชิงสถาปัตยกรรมต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อย ดังนี้
1) สามารถสร้างแบบจำลองมาตรฐาน
2) มี Framework และ Methodologies ที่สนับสนุนกรอบแนวทาง (Framework) ที่             ยอมรับในระดับสากล อาทิ TOGAF, FEA, Zachman ฯลฯ
3) รองรับการทำงานในการเปรียบเทียบข้อมูล As Is และ To Be
4) สามารถสร้าง Repository สำหรับเก็บข้อมูลได้
5) มีความสามารถในการนำเข้าข้อมูลด้วย Microsoft Excel ได้
6) มีความสามารถในการทำ Matrix เพี่อใช้วิเคราะห์ Gap Analysis
7) มีเครื่องรอในการจัดทำรายงานในลักษณะ GUI เพี่อความสะดวกในการออกแบบรายงานตามที่ต้องการ
8) สามารถนำเสนอรายงานในรูปแบบ Microsoft Word และ Microsoft Excel และHTML และ PDF รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งได้
9) สามารถบันทึกข้อมูลประวัติการปรับปรุงข้อมูลสถาปัตยกรรมได้
10) รองรับการเก็บข้อมูล Business Domain, Data/information Domain, Application Domain และ Technology and infrastructure Domain
11) สามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโดเมนได้ครบทุกโดเมนหรือตามการออกแบบตามความต้องการของผู้ใช้งาน
12) สามารถจัดการรายละเอียดของสถาปัฅยกรรมองค์กรแบบ Single Repository
13) มีความสามารถในการจัดการ IT Portfolio
14) รองรับการจัดการด้านยุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัล
15) สามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการดำเนินงานกับระบบงานที่รองรับ
16) สามารถวิเคราะห์ด้านต้นทุนของระบนงาน
17) สามารถวิเคราะห์ผลกระทบและความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
18) สามารถแสดงรายงานแบบ Heat Map ของระบบงาน
19) สามารถนำเข้าข้อมูลแบบอัตโนมัติ (Import file)
20) สามารถรายงานผลแบบ Microsoft Word และ PDF
4.13 จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายพร้อมอุปกรณ์ประกอบ โดยมีรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ ขั้นต่ำ ดังนี้
1) เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย จำนวน 1 เครื่องมีคุณลักษณะพื้นฐาน ดังนี้
• มีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ของ Intel Xeon Skylake Series แบบ 8 แกนหลัก (8 core) หรือดีกว่าสำหรับคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) โดยเฉพาะและมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาไม่น้อยกว่า 2.1 GHz จำนวนไม่น้อยกว่า 2 หน่วย
• หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) รองรับการประมวลผลแบบ 64 bit มีหน่วยความจำแบบ Cache Memory ไม่น้อยกว่า 10 MB
• มีหน่วยความจำหลัก (RAM) ชนิด ECC DDR4 หรือดีกว่า ขนาดไม่น้อยกว่า 32 GB และสามารถขยายเพิ่มเติมได้ไม่น้อย 512 GB
• สนับสนุนการทำงาน RAID ไม่น้อยกว่า RAID 0, 1, 5
• มีหน่วยจัดเก็บข้อมูล (Hard Disk) ชนิด SCSI หรือ SAS ที่มีความเร็วรอบไม่น้อยกว่า 10,000 รอบต่อนาทีหรือชนิด Solid State Drive หรือดีกว่าและมีความจุไม่น้อยกว่า 600 GB จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วย รองรับการถอดเปลี่ยนแบบ Hot-Plug หรือ Hot-Swap ได้
• มี DVD-ROM หรือดีกว่าแบบติดตั้งภายใน (Internal) หรือภายนอก (External) จำนวน 1 หน่วย
• มีช่องเชื่อมต่อระบบเครือข่าย (Network Interface) แบบ 10/100/1000 Ba$e-T หรือดีกว่า จำนวนไม่น้อยกว่า 2 ช่อง
• มีพอร์ตเชื่อมต่ออุปกรณ์แบบ USB 2.0 หรือดีกว่าจำนวน 4 port เป็นอย่างน้อย
• มีจอภาพแบบ LCD หรือดีกว่าขนาดไม่น้อยกว่า 17 นิ้ว จำนวน 1 หน่วย เป็นยี่ห้อเดียวกับเครืองแม่ข่ายที่เสนอ
• มี Power Supply แบบ Redundant หรือ Hot-Swap จำนวน 2 หน่วย
• สามารถติดตั้งในดู Rack ขนาด 19 นิ้ว
• ขนาดไม่เกิน 2U
• อุปกรณ์ที่เสนอต้องเป็นของแท้ของใหม่ ไม่เคยใช้งานมาก่อน ไม่เป็นของเก่าเก็บ และยังอยู่ในสายการผลิตโดยต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ผลิตหรือสาขาผู้ผลิตในประเทศไทย หนังสือนั้นต้องมีอายุไม่เกิน 90 วัน แนบมาพร้อมเอกสารเสนอราคา
2) ระบบปฏิบัติการของเครืองแม่ข่ายที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งสามารถทำงานร่วมกับซอฟแวร์และ Tools ที่เสนอตามโครงการนี้ได้
3) ระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) มีลักษณะดังนี้
• เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Management System : RDBMS)
• สนับสนุนเน็ตเวิร์คโปรโตคอลแบบ TCP/IP เป็นอย่างน้อย
• สามารถทำการเก็บข้อมูลและแสดงผลได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
• รองรับรหัสข้อมูลแบบ Unicode หรือ Windows 874 (Tis-620 Enhancement) ได้
• เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ที่มีสถาปัตยกรรมแบบ Scalable
• Architecture ซึ่งสนุบสนุนการทำงานแบบ Multiprocessor ได้อย่างมี
• ประสิทธภาพบนเครื่องที่มีสถาปัตยกรรมแบบ SMP (Symmetric
Multiprocessor)
• ระบบฐานข้อมูลมีสถาปัตยกรรมในลักษณะ Parallel Processing
• มี Database Utilities ต่างๆ ที่มีการใช้งานในลักษณะ GUI ได้แก่
– มีเครื่องมือเพี่อช่วยในการทำ Database System Administration เป็น อย่างน้อย
– มี Wizard ในการถ่ายเทข้อมูลเข้าและออกจากฐานข้อมูล
– มีเครื่องมือในการตรวจดูสถานการณ์ทำงานของฐานข้อมูล
– มี Wizard ในการเพิ่มประสิทธิภาพของ index ของฐานข้อมูล
– มีคุณสมบัติในการเพิ่มและลดการใช้งาน Memory ของระบบฐานข้อมูล แบบอัตโนมัติตามการใช้งานที่เกิดขึ้น
– มีคุณสมบัติในการเพิ่มขนาดของระบบฐานข้อมูลแบบอัตโนมัติตามข้อมูล หรือตามที่กำหนดไว้โดย Admin ของระบบ
– มี Wizard ในการทำ Online Backup & Recovery ของฐานข้อมูลและ สามารถทำได้ทั้งแบบ Full Database Backup, Partial Backup and Differential Backup
– สามารถทำงาน Backup แบบ Compression และสามารถทำการเข้ารหัส (Encryption) เพี่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ได้สำรองไว้ด้วย
– สามารถทำ Media Retention ของข้อมูลที่กำหนดตามระยะเวลาที่   ต้องการ
– มีเครื่องมือที่ใช้ในการปรับระบบภารทำงานเพี่อให้ระบบจัดการฐานข้อมูลสามารถทำงานได้ดีขึ้นซึ่งสามารถให้คำแนะนำในการปรับระบบการทำงานได้ (Database Tuning Advisor)
– มีคุณสมบัติในการประหยัดพื้นที่ในการเก็บข้อมูลแบบ Sparse Column สำหรับจัดการ Null values
– ระบบฐานข้อมูลจะต้องสามารถจัดการโครงสร้างของฐานข้อมูลได้โดยมีลักษณะการใช้งานแบบ Graphic มีการแสดงความสัมพันธ์ของตารางข้อมูล โดยไม่ต้องใช้ซอฟต์แวร์อื่นเข้ามาช่วยเหลือ
– สามารถกำหนดการเรียกดูข้อมูลทุกประเภทใน Meta data ได้โดยให้ แสดงผลในลักษณะ Real-Time หมายถึง ให้แสดงข้อมูลล่าสุดที่มีอยู่ใน ฐานข้อมูล
•  สนับสนุนมาตรฐานต่างๆ เหล่านี้เป็นอย่างนัอย
– Open Database Connectivity (ODBC)
– Java Database Connectivity (JDBC)
– มี Data integrity ที่สามารถทำ Referential Integrity และ Cascade delete ได้
– สามารถเก็บข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบ Binary Large Object (BLOB) ไว้ใน ฐานข้อมูลได้
– มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายสำหรับติดตั้งบนเครื่องแม่ข่ายที่จัดหาตาม โครงการ
 
งวดงานที่ 5
4.14 จัดทำแผนการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมองค์กร (EA Transition Plan) ของทุกกรมในสังกัด กระทรวงมหาดไทย
4.15 นำเข้ารายละเอียดเชิงสถาปัตยกรรมลงในเครื่องมือ (EA Tool) ให้แก่ทุกกรมในสังกัด กระทรวงมหาดไทยและทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการนำเข้ารายละเอียดเชิงสถาปัตยกรรมให้แก่รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมจัดทำรายงานสรุปผลการนำเข้
4.16 จัดอบรมการใช้งานเครื่องมือ (EA Tool) ในการจัดเก็บรายละเอียดเชิงสถาปัตยกรรมและการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบโดยใช้เครื่องมือ (EA Tool) ที่ส่งมอบให้กับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวง มหาดไทย จำนวน 1 รุ่น รุ่นละ 1 วัน จำนวนไม่น้อยกว่า 28 คน พร้อมจัดทำรายงานสรุปผลการอบรมการใช้งานเครื่องมือ (EA Tool)
4.17 จัดทำรายงานแนวทางการกำกับดูแลสถาปัตยกรรมองค์กร (EA Governance) ให้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
4.18 จัดสัมมนาปิดโครงการ จำนวนผู้เข้าร่วมสัมมนาไม่น้อยกว่า 160 คน 1 วัน พร้อมจัดทำ รายงานสรุปผลการจัดสัมมนาปิดโครงการ