สถานที่ : กรมชลประทาน
ผู้ว่าจ้าง : กรมชลประทาน
วันที่เริ่มโครงการ :  9 สิงหาคม 62
วันสิ้นสุดโครงการ :  5 มีนาคม  63
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ชัดเจนต่อสถานะปัจจุบันของสถาปัตยกรรมองค์กร (Current State of State Architecture) ซึ่งประกอบไปด้วย
     1.1 สถาปัตยกรรมการดำเนินงาน (Business Architecture)
     1.2 สถาปัตยกรรมข้อมูลสารสนเทศ (Data/Information Architecture)
     1.3 สถาปัตยกรรมด้านระบบงาน (Application Architecture)
     1.4 สถาปัตยกรรมระบบโครงสร้างพื้นฐานและการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
2. เพื่อกำหนดกรอบของสถานะอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กร (Future state of Enterprise Architecture) เพื่อนำมาปรับปรุงประสิทธิภาพและให้เป็นไปตามเป้าหมาย
3. เพื่อวิเคราะห์ถึงความแตกต่างระหว่างสถานะปัจจุบันและอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กร (Gap Analytic)
4. เพื่อกำหนดแผนการดำเนินงาน (Roadmap) ที่ส่งผลต่อการบรรลุถึงสถานะอนาคตของ สถาปัตยกรรมองค์กร (Future state of Enterprise Architecture)
5. จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ในการส่งเสริมและผลักดันการออกแบบสถาปัตยกรรมระบบสารสนเทศและการขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
6. เพื่อกำหนดทิศทาง และยกระดับการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรมชลประทานให้มีความชัดเจนมีประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาลตามแนวทางมาตรฐานสากล
ขอบเขตโครงการ
1. จัดทำรายงานการศึกษาเบื้องต้น (Inception Report) ที่ประกอบด้วย แผนการดำเนินโครงการ ทฤษฎีที่ใช้ การบริหารโครงการ
2. สำรวจและจัดทำสถานภาพปัจจุบันของสถาปัตยกรรมองค์กรที่มีอยู่ในปัจจุบัน กรมชลประทาน ที่ครอบคลุมในด้านต่าง ๆ ได้แก่
    2.1 สถาปัตยกรรมการดำเนินงาน (Business Architecture)
    2.2 สถาปัตยกรรมข้อมูลสารสนเทศ (Data/Information Architecture)
    2.3 สถาปัตยกรรมด้านระบบงาน (Application Architecture)
    2.4 สถาปัตยกรรมระบบโครงสร้างพื้นฐานและการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
3. จัดการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการพร้อมเอกสารประกอบการอบรม ในหลักสูตรการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรเพื่อสร้างองค์ความรู้ แก่บุคลากรกรมชลประทาน อันได้แก่
    3.1 หัวข้อ สถาปัตยกรรมองค์กรสำหรับผู้บริหาร (EA for Executive) จำนวน 1 รุ่น ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง และมีผู้เข้าร่วมโดยประมาณ 30 คน
    3.2 หัวข้อ การพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรเชิงปฏิบัติการ จำนวน 1 รุ่น ให้แก่บุคลากรใน สังกัดกรมฯ โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 วัน และมีผู้เข้าร่วมโดยประมาณ 100 คน
4. ออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมาย ที่สอดคล้องตามทิศทางการพัฒนาของกรมชลประทานใน ระยะเวลา 3 ปี ที่ครอบคลุมในด้านต่าง ๆ ได้แก่
    4.1 สถาปัตยกรรมการดำเนินงาน (Business Architecture)
    4.2 สถาปัตยกรรมข้อมูลสารสนเทศ (Data/Information Architecture)
    4.3 สถาปัตยกรรมด้านระบบงาน (Application Architecture)
    4.4 สถาปัตยกรรมระบบโครงสร้างพื้นฐานและการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
5. จัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลที่สอดคล้องตามสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมาย กรมชลประทาน ปี พ.ศ. 2564 – 2568
6. จัดสัมมนาเพื่อถ่ายทอดสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมายและแผนปฏิบัติการดิจิทัลของกรมชลประทาน