สถานที่ : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
ผู้ว่าจ้าง : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
วันที่เริ่มโครงการ : 6 ธันวาคม 2565
วันสิ้นสุดโครงการ : 6 ธันวาคม 2566

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อวิเคราะห์ สร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ชัดเจนต่อสถานะปัจจุบันของสถาปัตยกรรมองค์กร (Current State of Enterprise Architecture) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ (พม.)
  2. เพื่อกำหนดกรอบของสถานะในอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กร (Future State of Enterprise Architecture) เพื่อวิเคราะห์ถึงความแตกต่าง (Gap Analysis) ระหว่างสถานะปัจจุบันและอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กร ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
  3. เพื่อจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ให้ครอบคลุมทั้งสถาปัตยกรรมปัจจุบัน สถาปัตยกรรมอนาคต และแบบพิมพ์เขียวสถาปัตยกรรมองค์กร ในมุมมองด้านการดําเนินงานและมุมมองเชิงสถาปัตยกรรมองค์กรด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  4. เพื่อกำหนดแผนการดําเนินงาน (Roadmap) ที่ส่งผลต่อการบรรลุถึงสถานะในอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กร (Future State of Enterprise Architecture) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
  5. จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ในการส่งเสริมและผลักดันกรอบการออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กรไปสู่การขับเคลื่อนระบบเทคโนโลยีดิจิทัล ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ (พม.) เพื่อทำความเข้าใจและรวบรวมบริบทความต้องการของประชาชนแต่ละกลุ่มที่มีความสนใจใช้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล สำหรับนําไปใช้ในการออกแบบและพัฒนาบริการรัฐ ที่ตอบโจทย์การใช้งานของประชาชนมากที่สุด รวมถึงแนวทางการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ
  6. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านสถาปัตยกรรมองค์กรแก่บุคลากร ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)

ขอบเขตการดำเนินงาน

  1. จัดทำแผนดำเนินงานโครงการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) อย่างละเอียด โดยต้องประกอบไปด้วย การจัดทำกรอบแนวคิด ขั้นตอนการดำเนินงาน วิธีการดำเนินงาน พร้อมแสดงผลลัพธ์ของการดำเนินงานรายกิจกรรม เป็นอย่างน้อย
  2. จัดสัมมนาเปิดโครงการยังสถานที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมทั้งผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อนำเสนอความรู้และความสำคัญของการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร แนวทางการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรภาครัฐ และนำเสนอแผนการดำเนินงาน การรับฟังความคิดเห็น จากผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เจ้าหน้าที่ด้านนโยบายและแผน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ (พม.) โดยมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 150 คน
  3. การประเมินความพร้อม ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ต่อการ พัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร
    3.1. ทำการศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ สถานะปัจจุบันของสถาปัตยกรรมองค์กร (Current State of Enterprise Architecture) ทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านธุรกิจ (Business) ด้านแอปพลิเคชัน (Application) ด้านข้อมูล (Data) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security)
    3.2. ประเมินระดับความพร้อมต่อการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร โดยใช้กรอบแนวทางตามมาตรฐานสากล เช่น Zachman Framework (ZF) หรือ Federal Enterprise Architecture (FEA) หรือ The Open Group Architecture Framework (TOGAF) เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์สถานะปัจจุบันของสถาปัตยกรรมองค์กรของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ (พม.) ทั้ง 5 ด้าน รวมถึงความพร้อมในด้านต่าง ๆ ต่อการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร
    3.3. จัดทำรายงานสถานะปัจจุบันของสถาปัตยกรรมองค์กร ทั้ง 5 ด้าน และผลการประเมินความพร้อมในการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร ที่มีข้อเสนอแนะต่อผลการประเมินที่ได้รับเพื่อให้ผู้ว่าจ้างพิจารณา
  4. ศึกษากรอบแนวทางการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรที่เหมาะสมกับหน่วยงาน
    4.1. ทำการศึกษาเปรียบเทียบกรอบการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร (EA development framework) โดยใช้กรอบแนวทางตามข้อ 3.2. เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
    4.2. จัดทำรายงานสรุปผลการศึกษา และจัดทำรายละเอียดข้อมูลสถาปัตยกรรมองค์กรในแต่ละด้านที่สอดคล้องตามกระบวนการโดยระบุถึงข้อมูลหลักของกระบวนการ แหล่งที่มาของข้อมูลและผู้ใช้งานข้อมูล
    4.3. จัดทำรายงานสรุปผลการศึกษาสถาปัตยกรรมองค์กรที่เกี่ยวข้องแพลตฟอร์มบริการ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก เยาวชน และกลุ่มครอบครัวเปราะบาง
  5. การจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร
    5.1. นำผลที่ได้จากการศึกษาตามข้อ 1, ข้อ 3 และข้อ 4 มาวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างสถานะปัจจุบันและอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กร (Gap Analysis)
    5.2. จัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรในอนาคต ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
    5.3. จัดทำมาตรฐานกลางการพัฒนาแอปพลิเคชันของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
    5.4. จัดทำแผนการดำเนินการ (Roadmap) ที่ส่งผลต่อการบรรลุถึงสถานะอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กร (Future State of Enterprise Architecture) โดยละเอียด
  6. การจัดทำแนวทางการกำกับดูแลสถาปัตยกรรมองค์กร (EA Governance) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
    6.1. จัดทำรายงานแนวทางการกำกับดูแลสถาปัตยกรรมองค์กร (EA Governance) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร
    6.2. จัดทำแผนการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร โดยจัดแบ่งแผนงานระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
  7. การจัดประชุม
    7.1. จัดประชุมเพื่อรายงานความก้าวหน้าร่วมกับผู้ว่าจ้าง และ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง จนกว่าจะสิ้นสุดสัญญา โดย เนื้อหาของรายงานต้องแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
    7.2. เมื่อมีการประชุม ทุกการประชุม ระหว่างที่ปรึกษา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และผู้ว่าจ้าง ให้ที่ปรึกษาจัดทำรายงานการประชุมอย่างละเอียด โดยจัดส่งให้ผู้ว่าจ้างไม่เกิน 5 วันทำการ หลังจากการประชุมแล้วเสร็จ
  8. การฝึกอบรม
    8.1. จัดฝึกอบรมบุคลากรของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)หลักสูตรเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร จำนวน 1 รุ่น ให้แก่บุคลากรใน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (สป.พม.) หรือ หน่วยงานอื่นในสังกัดของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยมีระยะเวลาการฝึกอบรมอย่างน้อย 2 วัน มีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 40 คน
    8.2. จัดทำแผนการฝึกอบรมโดยมีรายละเอียดดังนี้ เป็นอย่างน้อย
    1) วัตถุประสงค์
    2) หัวข้อการฝึกอบรม
    3) วิธีการฝึกอบรม
    4) เอกสารประกอบการฝึกอบรม
    5) ระยะเวลาการฝึกอบรม
    6) สถานที่ฝึกอบรม
    7) รายละเอียดอื่น ๆ (ถ้ามี)
    8.3. ที่ปรึกษาต้องเสนอแผนการฝึกอบรมให้ผู้ว่าจ้างพิจารณาและให้ความเห็นชอบก่อนการฝึกอบรม โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
    1) ที่ปรึกษาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการฝึกอบรม อาทิ วิทยากร อาหารกลางวัน อาหารว่าง เอกสารในการฝึกอบรม ตลอดจนจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมและสถานที่ในการฝึกอบรม (ถ้ามี)
    2) วิทยากรที่จะมาฝึกอบรมดังกล่าว ต้องมีความรู้ความสามารถเป็นวิทยากรอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    3) ผลที่ได้จากการฝึกอบรมทั้งหมดจะต้องนำมาใช้ประกอบการกำหนดกรอบของสถานะอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กรทั้ง 5 ด้าน ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้
    8.4. ในกรณีที่ ที่ปรึกษาได้มีการจัดเตรียมการฝึกอบรมตามกำหนดวันที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าจ้างแล้ว แต่ผู้รับการฝึกอบรมมาไม่ครบจำนวน ไม่ถือว่าเป็นความผิดของที่ปรึกษาและให้สามารถจัดฝึกอบรมได้
    8.5. หากที่ปรึกษามีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายละเอียดของการฝึกอบรมที่ผ่านการเห็นชอบแล้ว ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าจ้างก่อน
  9. การรายงานผล
    ที่ปรึกษาจะต้องรายงานผลการดำเนินการในรูปของเอกสารรายงาน ดังนี้
    9.1. รายงานเบื้องต้น (Inception Report) โดยเนื้อหาต้องครอบคลุมแนวทางการดำเนินงานและแผนปฏิบัติงานของที่ปรึกษาเป็นอย่างน้อย ตามที่กำหนดไว้ในขอบเขตการดำเนินงานข้อ 1
    9.2. รายงานฉบับกลาง (Interim Report) โดยเนื้อหาต้องครอบคลุมผลการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3 และ ข้อ 4
    9.3. ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ (Draft Completion Report) โดยเนื้อหาต้องครอบคลุมผลการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5 และ ข้อ 6
    9.4. รายงานฉบับสมบูรณ์ (Completion Report) โดยเนื้อหาต้องครอบคลุมผลการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4 และเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อกำหนดและขอบเขต งาน (TOR) พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าจ้างเสนอร้องขอ และตามผลการประชุม อบรม ที่ได้จัดขึ้นเพื่อนำเสนอผลการศึกษาทั้งหมดให้กับผู้ว่าจ้าง และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
    9.5. รายงานความก้าวหน้า (Progress Report) ที่ปรึกษาจะต้องรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนให้ผู้ว่าจ้างเป็นระยะ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยเนื้อหาของ รายงานจะต้องแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว