สถานที่ : มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้ว่าจ้าง : มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันที่เริ่มโครงการ : 24 พฤษภาคม 2566
วันสิ้นสุดโครงการ : 14 มกราคม 2568
วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การเงินการบัญชีและการบริหาร บุคลากร ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คําปรึกษาในการพัฒนาระบบพัฒนาระบบบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. เพื่อให้คําปรึกษาในการบริหารจัดการโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในระหว่างการพัฒนาและติดตั้งระบบปฏิบัติงานให้บรรล ตามวัตถุประสงค์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3. เพื่อให้คําปรึกษาและจัดทําแผนสําหรับการกํากับ ดูแล ติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างพัฒนาระบบ สารสนเทศ และจัดทําเอกสารสรุปความต้องการของระบบ (System Requirement Specification) ให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์และความต้องการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น สําหรับการพัฒนาระบบบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4. เพื่อให้คําปรึกษาสําหรับการดําเนินการตามพัฒนาระบบบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เป็นไปตามข้อกําหนดขอบเขตงานการจัดจ้างพัฒนาระบบ บริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วย การออกแบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์,การโอนย้ายข้อมูล (Data Migration) การเชื่อมโยงระบบงานที่พัฒนา กับระบบงานอื่นที่เกี่ยวข้อง,การฝึกอบรมการใช้งานระบบ และอื่นๆ และให้ความเห็นประกอบ การพิจารณาตรวจรับมอบงานพัฒนาระบบบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น แต่ละงวดงาน ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (จ้างพัฒนาระบบบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
5. เพื่อให้คําปรึกษา ประสานการปฏิบัติงาน และแก้ปัญหาในการดําเนินโครงการพัฒนาระบบบริหาร จัดการทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมทั้งประเมินและวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้รับจากโครงการ ทั้งในเชิงของผลผลิต และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากการดําเนินโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ขอบเขตการดำเนินงาน
1. จัดทําแผนการดําเนินการให้คําปรึกษา ให้สอดคล้องกับแผนการดําเนินโครงการพัฒนาระบบบริหาร จัดการทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ผู้รับจ้างเสนอต่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยตรวจสอบและเสนอแนะแผนการดําเนินการของผู้รับจ้างโครงการพัฒนาระบบบริหาร จัดการทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้เป็นไปตามสัญญา และตามวัตถุประสงค์ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยอย่างน้อยประกอบด้วยแผนงานต่อไปนี้
(1) แผนการดําเนินงานและบริหารจัดการโครงการ
(2) แผนการ Migration และ Synchronization ข้อมูล
(3) แผนการทดสอบ (Test Plan)
(4) แผนการฝึกอบรม
(5) แผนการเริ่มใช้งานระบบ (Go – Live)
(6) แผนสํารองฉุกเฉินสําหรับการเริ่มใช้งาน
(7) แผนการประชุมความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไข
2. ให้คําปรึกษาในการจัดทําเกณฑ์การตรวจรับงานที่มีคุณภาพตามขอบข่ายงานของโครงการพัฒนา ระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
(1) จัดทําหลักเกณฑ์เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการตรวจรับงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1.1) ชุดซอฟต์แวร์ในโครงการ
(1.1.1) ซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มแกนหลัก (Core Software)
(1.1.2) ซอฟต์แวร์บริหารจัดการทรัพยากรบุคคล
(1.1.3) ซอฟต์แวร์บริหารจัดการทรัพยากรองค์กร
(1.2) ระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร
(1.2.1) การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล
(1.2.2) การบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร
(1.3) การโอนย้ายข้อมูล (Data Migration) เพื่อรองรับการเริ่มใช้จริง (Go-Live)
(1.3.1) การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล
(1.3.2) การบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร
(1.4) การจัดทําระบบการเชื่อมโยงระหว่างซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่กําหนดในโครงการ
(2) ให้คําปรึกษา / ข้อเสนอแนะแก่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการ ทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น สําหรับการตรวจรับงาน ในแต่ละงวด
3. กํากับ ดูแล ติดตาม และตรวจสอบการดําเนินงานตามแผนงานโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการ ทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมทั้งรายงานสภาพปัญหา และอุปสรรค โดยมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้
(1) กํากับ ดูแล ติดตาม และตรวจสอบการดําเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้ดําเนินการตามแผนและมาตรฐาน ที่กําหนดไว้ รวมทั้งรายงานสภาพปัญหาและอุปสรรค แนวทางแก้ไข ข้อเสนอแนะ แนวทางการบริหารจัดการ ระบบสารสนเทศให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นทราบ
(2) จัดการประชุมคณะกรรมการอํานวยการร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อรายงานผลการ ดําเนินการสําหรับการกํากับ ติดตาม ปัญหาอุปสรรคในการดําเนินโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการทั่วทั้ง องค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น และให้คําปรึกษา ประสานข้อมูล ข้อเสนอแนะ แก่ผู้รับจ้างพัฒนาระบบพัฒนาระบบบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะทํางานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้การพัฒนาพัฒนา ระบบบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น บรรลุตาม วัตถุประสงค์โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
4. ตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้รับจ้างโครงการพัฒนาระบบ บริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้จัดทํา และนําส่งให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1) การออกแบบสถาปัตตยกรรม
(2) Data Centre และ Disaster Recovery Site
(3) การจัดการด้านการรักษาความปลอดภัยระบบ
(4) การจัดการด้านผู้ใช้งาน
(5) การจัดการด้านประสิทธิภาพ
(6) การจัดการด้านการบํารุงรักษาระบบ
(7) การจัดการด้านการสํารองข้อมูล
5. ให้คําปรึกษาและจัดทําเอกสารสรุปความต้องการระบบ (System Requirement Specification) เพื่อให้ ผู้รับจ้างโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
(1) เข้าร่วมประชุมและสํารวจความต้องการระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร ร่วมกับ คณะกรรมการ/คณะทํางานเพื่อศึกษา และวิเคราะห์ความต้องการ
(2) องค์ประกอบของเอกสารสรุปความต้องการระบบ (System Requirement Specification) ประกอบด้วยรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้
(2.1) Functional Specification
(2.1.1) Process กระบวนการทํางานของระบบ
(2.1.2) System Interface หมายถึง การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างระบบ
(2.2) Non – Functional Specification
(3) ศึกษา และวิเคราะห์ความต้องการระบบการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล โดยมีรายละเอียดดังนี้
(3.1) ระบบบริหารจัดการข้อมูลพนักงานหลัก (Core HR)
(3.2) ระบบสรรหาและคัดเลือกพนักงาน (Recruitment)
(3.3) ระบบการลงเวลา/ การลา – การมาปฏิบัติงาน/ ควบคุมการปฏิบัติงาน (Time Management)
(3.4) ระบบสวัสดิการพนักงาน (Benefit Administration)
(3.5) ระบบงานเงินเดือน (Payrol Management)
(3.6) ระบบบริหารจัดการผลตอบแทน (Compensation Management)
(4) ศึกษา และวิเคราะห์ความต้องการระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร โดยมีรายละเอียดดังนี้
(4.1) ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger)
(4.2) ระบบควบคุมและติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ (Budget Control and Monitoring) (4.3) ระบบจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement)
(4.4) ระบบบัญชีลูกหนี้ (Account Receivable)
(4.5) ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (Account Payable)
(4.6) ระบบบริหารเงินสด (Cash Management)
(4.7) ระบบบริหารพัสดุคงคลัง (Inventory Management)
(4.8) ระบบบริหารทรัพย์สินถาวร (Fixed Asset Management)
6. กํากับ ดูแล และร่วมทดสอบระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร เพื่อให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับระบบที่สอดคล้องกับความต้องการและมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับการใช้งานภายใน โดยมีรายละเอียด อย่างน้อยดังนี้
(1) ตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะแผนการทดสอบ (Test Plan) ที่ผู้รับจ้างโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดทําและนําส่งแก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
(2) จัดทําขั้นตอนจําลองสําหรับการทดสอบ (Test Case) และเข้าร่วมในการทดสอบร่วมกับผู้ใช้งาน (User Acceptance Test: UAT) เพื่อทดสอบฟังก์ชั่นการใช้งานและความถูกต้องของข้อมูล
(3) จัดทําขั้นตอนจําลองสําหรับการทดสอบในสถานการณ์ไม่ปกติของระบบ (Stress Testing) และเข้าร่วมในการทดสอบ เพื่อดูว่าระบบจะทนทานต่อสถานการณ์ดังกล่าวได้นานเพียงใดก่อนที่ระบบจะล้มเหลว
(4) จัดทําขั้นตอนจําลองสําหรับการทดสอบสมรรถนะด้านต่างๆ ของระบบในสถานการณ์ทั่วไปว่าอยู่ในระดับที่รับได้หรือไม่ (Performance Testing) และเข้าร่วมในการทดสอบ เช่น ระยะเวลาในการตอบสนองการทํางาน เพื่อนําผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ในการจัดสรรทรัพยากรการจัดสรรเนื้อที่จัดเก็บข้อมูล หรือหน่วยความจําบน เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
7. ตรวจสอบ ให้คําปรึกษา และให้ข้อเสนอแนะในการโอนย้ายข้อมูล (Data Migration) และการเริ่มใช้ งานระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร (Go – Live) เพื่อให้ผู้รับจ้างโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการทั่วทั้ง องค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้เป็นแนวทางในการดําเนินงาน โดยมี รายละเอียดอย่างน้อยดังนี้
(1) ให้คําปรึกษาและข้อเสนอแนะในการโอนย้ายข้อมูล (Data Migration)
(1.1) การระบุข้อมูลต้นทาง (Data Source) และประเภทของข้อมูล (Data Type)
(1.2) การ Mapping ผังบัญชีเดิมของหน่วยงาน กับ ผังบัญชีใหม่
(1.3) การระบุเงื่อนไขในการโอนย้ายข้อมูล (Data Transformation)
(1.4) นโยบายการโอนย้ายข้อมูล เช่น การปิดรอบบัญชี การยกยอดบัญชี
(2) ตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะการเริ่มใช้งานระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร (Go – Live) ที่ผู้รับจ้างโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดทํา และนําส่งแก่มหาวิทยาลัยขอนแก่นกําหนดไว้
(2.1) แผนการเริ่มใช้งานระบบ (Go-Live)
(2.2) แผนสํารองฉุกเฉินสําหรับการเริ่มใช้งาน
8. ดําเนินการประเมินและวิเคราะห์ผลที่ได้รับจากโครงการ ทั้งในเชิงของผลผลิต และผลลัพธ์ ของโครงการ ที่เกิดขึ้นภายหลังจากการดําเนินโครงการ กําหนดตัวชี้วัดของโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการ ทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
(1) เพื่อประเมินผลผลิต (Output) ของโครงการ ได้แก่ คุณภาพ ประสิทธิภาพ ความเพียงพอ เสถียรภาพและความปลอดภัยของระบบสารสนเทศและขอบเขตงานอื่นทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ของโครงการพัฒนา ระบบบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
(2) เพื่อประเมินผลลัพธ์ (Outcome) และคุณประโยชน์ ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นในการดําเนินการ โครงการ ซึ่งคาดว่าจะสามารถวิเคราะห์ให้เห็นถึงพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังที่ผลผลิตของ โครงการได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์และถูกนํามาใช้งานในระยะเวลาที่มากขึ้น
(3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคที่เกี่ยวข้องในการใช้งานของโครงการ และประเมินความต้องการใช้งานของโครงการ ตลอดจนจัดทําข้อเสนอแนะเพื่อให้เกิดการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ