สถานที่ : กองบัญชาการกองทัพไทย

ผู้ว่าจ้าง : กองบัญชาการกองทัพไทย

วันที่เริ่มโครงการ : 4 กรกฎาคม 2566

วันสิ้นสุดโครงการ : 30 ธันวาคม 2566

วัตถุประสงค์
     เพื่อให้มีรายละเอียดการออกแบบระบบสารสนเทศการอํานวยการยุทธ์ รวมถึงข้อมูลพื้นฐานที่เพียงพอ สามารถนําไปใช้ในการพัฒนาซอฟท์แวร์ที่เกี่ยวข้องในการอํานวยการยุทธ์ ซึ่งจะดำเนินการในขั้นต่อไปได้

ขอบเขตการดำเนินงาน
1. ระบบวงรอบการปฏิบัติ (Battle Rhythm)
1.1 การวิเคราะห์ระบบวงรอบการปฏิบัติ (Battle Rhythm) ของศูนย์บัญชาการทางทหาร
1.1.1 กำหนดองค์ประกอบของข้อมูลพื้นฐานที่ต้องใช้ในการอํานวยการยุทธ์ แยกข้อมูลของแต่ละ B2C2WG (Boards, Bureaus, Centers, Cells, and Working Groups) ตามระบบ Joint Functions
1.1.2 กำหนดกรอบ Battle Rhythm ตามระดับสถานการณ์ที่ศูนย์บัญชาการทางทหารกำหนดได้ โดยให้ออกแบบ กระบวนการในการสร้าง B2C2WG
1.1.3 สัมภาษณ์ ประมวล วิเคราะห์ และกำหนดข้อมูลที่ใช้ในแต่ละ B2C2WG
1.1.4 กำหนด Input – Process – Output ของแต่ละ B2C2WG
1.1.5 ออกแบบหน้าจอแสดงผล รายละเอียดข้อมูล และแดชบอร์ด ของแต่ละ B2C2WG
1.1.6 กำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เชื่อมโยงแต่ละ B2C2WG ในระบบ Battle Rhythm
1.1.7 ออกแบบหน้าจอแสดงผลสรุปข้อมูลตามระบบ Joint Functions
1.2 การวิเคราะห์ข้อมูลทางทหารของแต่ละฝ่ายในศูนย์บัญชาการทางทหาร
1.2.1 กำหนด Key User Requirement (KUR) ในการอํานวยการยุทธ์
1.2.2 กำหนด Information Exchange Requirement (IER)
1.2.3 กำหนดแหล่งนําเข้าข้อมูลแต่ละเรื่อง ทั้งจากในศูนย์บัญชาการทางทหาร จากศูนย์ปฏิบัติการเหล่าทัพ หน่วยปฏิบัติ และหน่วยงานนอกกระทรวงกลาโหม
1.2.4 จัดทำตัวอย่างข้อมูล KUR และ IER
1.2.5 ออกแบบหน้าจอแสดงผลของแต่ละฝ่ายในศูนย์บัญชาการทางทหาร อย่างน้อยดังนี้
1.2.5.1 ส่วนอํานวยการ
1.2.5.2 ส่วนกิจการพิเศษ
1.2.5.3 ส่วนปฏิบัติ
1.2.5.4 เหล่าทัพ และ ตชด.
1.2.5.5 กองกําลังเฉพาะกิจร่วม
1.2.5.6 จัดทำตารางแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล KURIER ของแต่ละฝ่าย แสดงในระบบ B2C2WG และ Joint Functions
1.3 การใช้ข้อมูลในการอํานวยการยุทธ์
1.3.1 ออกแบบการแสดงผลการอํานวยการยุทธ์ด้วย Line of Operations และ Line of Efforts
1.3.2 ออกแบบภาพรวมการบริหารจัดการข้อมูลของฝ่ายต่างๆ และตาม Joint Functions
1.3.3 นําข้อมูลที่ได้จากการออกแบบ ทดสอบแสดงผลบนระบบแผนที่สถานการณ์ร่วม (COP)
1.3.4 วิเคราะห์การเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบ GIS
1.3.5 ออกแบบการเชื่อมโยงข้อมูล ศูนย์บัญชาการทางทหารส่วนหน้า (War room staff) กับศูนย์บัญชาการ ทางทหารส่วนหลัง (Back room staff)
1.3.6 ออกแบบการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลของศูนย์บัญชาการทางทหาร กับระบบของศูนย์ปฏิบัติการเหล่าทัพ
1.4 การออกแบบหน้าจอแสดงผล
1.4.1 ใช้ซอฟท์แวร์การออกแบบที่มีลักษณะเป็น Collaborative Interface Design Tool เช่น โปแกรม Figma ในการออกแบบการแสดงผล
1.4.2 จัดทำตัวอย่างข้อมูลการแสดงผลการอํานวยการยุทธ์ แยกตามแต่ละ B2C2WG หรือตามที่ ทางราชการกำหนด ซึ่งรวมถึงหน้าจอการนําเข้าข้อมูล และหน้าจอการแสดงผลข้อมูล
1.4.3 จัดทำตัวอย่างข้อมูลการแสดงผลการอํานวยการยุทธ์ แยกตามแต่ละ Joint Functions หรือตามที่ ทางราชการกำหนด ซึ่งรวมถึงหน้าจอการนําเข้าข้อมูล และหน้าจอการแสดงผลข้อมูล
1.4.4 จัดทำตัวอย่างข้อมูลการแสดงผลการอํานวยการยุทธ์ แยกตามแต่ละฝ่าย จำนวนสอดคล้องกับ B2CZWG ตามที่ทางราชการกำหนด ซึ่งรวมถึงหน้าจอการนําเข้าข้อมูล และหน้าจอการแสดงผลข้อมูล
1.4.5 จัดทำตัวอย่างการออกแบบการแสดงผลที่เปลี่ยน Theme ได้อย่างน้อย 2 Theme
1.4.6 หน้าจอที่ออกแบบจะต้องมีรายละเอียดเพียงพอต่อการพัฒนาซอฟท์แวร์
1.5 การออกแบบสถาปัตยกรรมระบบ
1.5.1 จัดทำ BPMN รองรับการออกแบบ โดยมีรายละเอียดเพียงพอต่อการพัฒนาระบบ
1.5.2 จัดทำ Functional Template สำหรับการพัฒนาระบบ
1.5.3 จัดทำ Use Case Diagram ด้วย UML
1.5.4 จัดทำ Class Diagram
1.5.5 จัดทำ ER Diagram หรือ Data Flow Diagram, Level 0 และ 1
1.5.6 ออกแบบระบบฐานข้อมูลที่ต้องใช้ในการพัฒนาระบบ
1.6 ประมาณการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบ โดยใช้รูปแบบของ COCOMO
1.7 จัดทำร่าง TOR สำหรับการจ้างพัฒนาซอฟท์แวร์
2. ระบบประเมินความพร้อม (Preparedness/Readiness Assessment)
2.1 การวิเคราะห์หลักการประเมินสถานภาพความพร้อมของกองทัพ
2.1.1 ความพร้อมด้านกําลังพล
2.1.2 ความพร้อมด้านยุทโธปกรณ์
2.1.3 ความพร้อมด้านระบบ ได้แก่ แผน การฝึก หลักนิยม ระบบงานต่างๆ
2.2 นําเสนอหลักการที่เกี่ยวข้องที่มีใช้ในการประเมินความพร้อมของกองทัพต่างประเทศ พร้อมตัวอย่าง
2.3 จัดทำแนวทางการประเมินสถานภาพความพร้อมของกองบัญชาการกองทัพไทย/ศูนย์บัญชาการทางทหารทั้งในเรื่องการเตรียมกําลังและการใช้กําลัง
2.4 การออกแบบสถาปัตยกรรมระบบ
2.4.1 จัดทำ BPMN รองรับการออกแบบ โดยมีรายละเอียดเพียงพอต่อการพัฒนาระบบ
2.4.2 จัดทำ Functional Template สำหรับการพัฒนาระบบ
2.4.3 จัดทำ Use Case Diagram ด้วย UML
2.4.4 จัดทำ Class Diagram
2.4.5 จัดทำ ER Diagram หรือ Data Flow Diagram, Level 0 และ 1
2.4.6 ออกแบบระบบฐานข้อมูลที่ต้องใช้ในการพัฒนาระบบ
2.4.7 ตัวอย่างหน้าจอระบบงาน
2.5 การออกแบบระบบต้องคำนึงถึงความเข้ากันได้ของระบบงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน การเตรียมความพร้อม ของระบบในการเชื่อมต่อ API และใช้เทคโนโลยี Open Source เป็นเป้าหมายหลักในการออกแบบเพื่อพัฒนาระบบ
2.6 ประมาณการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบ โดยใช้รูปแบบของ COCOMO
2.7 จัดทำร่าง TOR สำหรับการจ้างพัฒนาซอฟท์แวร์