สถานที่ : สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ผู้ว่าจ้าง : สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
วันที่เริ่มโครงการ : 30 พฤษภาคม 2566
วันสิ้นสุดโครงการ : 25 มกราคม 2567
วัตถุประสงค์
1. เพื่อทบทวน วิเคราะห์ถึงสถานะปัจจุบันและเป้าหมายในอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กร (Gap Analysis) และจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรของสำนักงาน กสม. ให้ครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน ทั้งสถานะปัจจุบัน และรองรับสถานะในอนาคต
2. เพื่อกำหนดแผนการดำเนินงาน (Roadmap) ที่เหมาะสมสอดคล้องกับโครงการ ข้อเสนอแนะ เชิงนโยบาย การส่งเสริมและสร้างความรู้ ความเข้าใจ เพื่อผลักดันกรอบสถาปัตยกรรมองค์กรของสำนักงาน กสม. เพื่อขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติงานตามภารกิจ
3. เพื่อกำหนดแนวทางในการประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการปฏิบัติตามภารกิจของหน่วยงาน
ขอบเขตการดำเนินงาน
1. ส่วนงานที่ 1: จัดทำแผนการดำเนินงานโครงการอย่างละเอียดตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และขอบเขตการดำเนินงาน ดังนี้
1.1 แผนการดำเนินงานโครงการ (Project Schedule)
1.2 วิธีการดำเนินการโครงการ (Methodology)
1.3 แผนการบริหารจัดการโครงการ (Project Management)
1.4 โครงสร้างองค์กรของที่ปรึกษาในการดำเนินงานโครงการ (Project Organization Structure) และรายชื่อบุคลากรหลัก (Key Person)
1.5 แผนการจัดประชุมเชิงวิชาการหรือปฏิบัติการอย่างน้อย 2 ครั้ง
2. ส่วนงานที่ 2 : ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ ทั้งปัจจัยภายในและ ภายนอก เพื่อวิเคราะห์ และเป็นแนวทางในการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร ได้แก่
2.1 ศึกษาและวิเคราะห์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ แผนงานโครงการ แนวนโยบายและ การดำเนินงาน อย่างน้อยดังนี้
1) ศึกษา สภาพการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน การบริหาร องค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งนโยบาย เป้าหมาย หรือวิสัยทัศน์ของการดำเนินงานองค์กรในอนาคต
2) ศึกษาระบบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ความต้องการ และประเด็นปัญหา ขององค์กรจากกลุ่มเป้าหมายสำคัญ เพื่อจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (As-ls Enterprise Architecture) ของสำนักงาน กสม.
3) ศึกษาความเป็นไปได้ในการประยุกต์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลองค์กร หรือศึกษา แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงาน เช่น Al Machine Learning, Big Data/Data analytics, TOT, Social Media, Cloud Computing เป็นต้น
2.2 ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดขอบเขตความต้องการของการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (Requirement and Scope) ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders) และหลักการสถาปัตยกรรม (Architecture Principle) ซึ่งจะใช้เป็นโครงร่างของสถาปัตยกรรมองค์กรในอนาคต (Future State Outline) และตัวชี้วัดผลสำเร็จขององค์กร (Key Performance Indicator) อย่างน้อย ดังนี้
1) ดำเนินการ ศึกษา วิเคราะห์ ทบทวนโครงสร้างการดำเนินงานในปัจจุบัน เพื่อให้ทราบถึง สถานการณ์ดำเนินงานขององค์กร ปัญหาในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กร
2) นโยบายจากฝ่ายบริหาร เพื่อดูทิศทาง แนวทางในการทำงานให้สอดคล้องเหมาะสมกับภารกิจเกี่ยวข้อง
3) ศึกษา วิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกเพื่อใช้ในการติดตามผลการดำเนินงาน และตัวชี้วัดตามพันธกิจของสำนักงาน กสม.
4) ศึกษา สภาพแวดล้อมองค์กร
5) คู่มือหรือแนวปฏิบัติงานกรณีต่าง ๆ
6) คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.3 ดำเนินการศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์ทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก ขององค์กรในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น อย่างน้อยดังนี้
1) ทิศทางกรอบสถาปัตยกรรมองค์กรระดับสากล
2) ความสอดคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580)
3) ความสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2560)
4) ความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับล่าสุด
5) ความสอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศ
6) ความสอดคล้องนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 – 2580)
7) ความสอดคล้องพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ตามมาตรา 7 และมาตรา 8 ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
8) ความสอดคล้องพระราชบัญญัติข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
9) ความสอดคล้องพระราชบัญญัติไซเบอร์ พ.ศ. 2562
10) ความสอดคล้องพระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564
11) ความสอดคล้องพระราชบัญญัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสิทธิมนุษยชน
12) มาตรฐานสากลด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
13) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน 2.4 จัดอบรม/สัมมนา/จัดประชุม/สัมภาษณ์
1) จัดประชุมเปิดโครงการและอบรม พร้อมนำเสนอความรู้ และเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความสำคัญของการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) แนวทางการพัฒนา สถาปัตยกรรมองค์กรภาครัฐให้กับผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน กสม. ไม่น้อยกว่า 60 คน อย่างน้อย 1 ครั้ง ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง โดยที่ปรึกษาเป็นผู้จัดหาสถานที่อบรมซึ่งได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าจ้าง และที่ปรึกษาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการอบรม
2) จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อสร้างความเข้าใจ และถ่ายทอด กระบวนการศึกษา วิเคราะห์ ข้อเสนอแนะหรือให้ความเห็นต่อ (ร่าง) สถาปัตยกรรมองค์กรของสำนักงาน กสม. อย่างน้อย 1 ครั้ง ให้กับผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน กสม. ไม่น้อยกว่า 60 คน ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง โดยที่ปรึกษาเป็นผู้จัดหาสถานที่อบรมของเอกชนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าจ้าง และที่ปรึกษาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการจัดประชุมสัมมนา
3) สัมภาษณ์เชิงลึก (Workshop) ผู้บริหาร และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบแนวโน้ม ปัญหา และอุปสรรคในปัจจุบัน รวมทั้งนโยบาย เป้าหมาย หรือวิสัยทัศน์ของการดำเนินงานองค์กรในอนาคต
3. ส่วนงานที่ 3: การออกแบบสถาปัตยกรรมขององค์กรในปัจจุบัน (Current Enterprise Architecture) เพื่อนำมาสู่การออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กรในอนาคต (To-Be Enterprise Architecture) ดังนี้
3.1 ดำเนินการ ศึกษา วิเคราะห์ สถาปัตยกรรมองค์กรในปัจจุบัน (Current Enterprise Architecture) เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ดำเนินงานในปัจจุบันขององค์กร
3.2 ดำเนินการออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กรในอนาคต (To-be Enterprise Architecture)
สำหรับสนับสนุนพันธกิจหลักของสำนักงาน กสม. ให้ครอบคลุมสถาปัตยกรรมองค์กรในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1) สถาปัตยกรรมด้านกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจ (Business Architecture)
2) สถาปัตยกรรมด้านระบบงานและโปรแกรมประยุกต์ (Application Architecture) 3) สถาปัตยกรรมด้านข้อมูลสารสนเทศ (Data Architecture)
4) สถาปัตยกรรมด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน (Technology Architecture)
5) สถาปัตยกรรมด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security Architecture)
3.3 นำข้อมูล ผลสำรวจมาวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) ระหว่างเป้าหมายขององค์กรใน อนาคตกับสถาปัตยกรรมองค์กรปัจจุบันกับความต้องการในการพัฒนาบริการขององค์กร (Service) ทั้งในด้านภารกิจหลัก ระบบงานและเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่การออกแบบและจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรอนาคต
3.4 ทบทวน/ปรับปรุงแผนปฏิบัติการดิจิทัลของสำนักงาน กสม. ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2566 – 2570) ระยะเวลา 3 – 5 ปีที่มีอยู่ในปัจจุบัน
3.5 จัดทำแผนภาพ IT Road Map ที่จะนำไปสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Organization)
3.6 จัดทำรายงานผลการประเมินความพร้อมและร่างข้อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนสู่การเป็น
องค์กรดิจิทัล จัดทำร่างแนวทางการกำกับดูแลสถาปัตยกรรมองค์กร
4. ส่วนงานที่ 4: จัดทำกระบวนการปรับเปลี่ยน (Transition)
4.1 จัดทำแผนการดำเนินงาน (Roadmap) เพื่อการกำหนดกลยุทธ์การขับเคลื่อนแผนงานตามที่ได้ศึกษา วิเคราะห์
4.2 ศึกษา เก็บรวบรวม สำรวจสภาพระบบข้อมูล สำหรับใช้ประมวลผลด้านต่าง ๆ เพื่อให้ สำนักงาน กสม. มีข้อมูล ชุดข้อมูล คำอธิบายข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน เตรียมความพร้อมในการเชื่อมโยงและเปลี่ยน ข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4.3 วิเคราะห์ ทบทวนกระบวนงานที่สำนักงาน กสม. ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อวางแผน พัฒนาปรับเปลี่ยนจากสถาปัตยกรรมองค์กรในปัจจุบันไปสู่สถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมายในอนาคตทั้ง 5 ด้านให้
เหมาะสมตามที่ผู้ว่าจ้างเห็นชอบ
4.4 จัดทำแนวทางการกำกับดูแลออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กรของสำนักงาน กสม.(Enterprise Architecture) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารและพัฒนาสู่องค์กรดิจิทัล
5. ส่วนงานที่ 5: การวัดผล ประสิทธิภาพ (Measurement)
5.1 ศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูล สำรวจสภาพระบบข้อมูลสำหรับใช้ประมวลผลด้านต่าง ๆ เพื่อให้ สำนักงาน กสม. มีข้อมูลใช้ในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามพันธกิจและตัวชี้วัด
5.2 ประเมินระดับความพร้อมของสำนักงาน กสม. ต่อการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร โดยใช้ กรอบแนวทางตามมาตรฐานสากล เพื่อวิเคราะห์สถานะปัจจุบันองค์กร รวมถึงความพร้อมในด้านต่าง ๆ และออกแบบกระบวนการวัดผล ประเมินผลให้สอดคล้องกับนโยบาย
5.3 กำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพของแต่ละด้านของสถาปัตยกรรมองค์กร (EA Metrics) เพื่อ การวัดประเมินสถานะของระดับวุฒิภาวะ (Maturity Level) ของสถาปัตยกรรมองค์กร
5.3.1 ประเมินระดับวุฒิภาวะ (Maturity Level) ของสถาปัตยกรรมองค์กรในปัจจุบัน (As-Is Enterprise Architecture)
5.3.2 กำหนดเป้าหมายระดับวุฒิภาวะ (Maturity Level) ที่คาดหวังจากการทำการ ปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมองค์กรในปัจจุบัน (As-Is Enterprise Architecture) ไปสู่สถาปัตยกรรมองค์กรใน อนาคต (To-be Enterprise Architecture)